วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

รายงานการดำเนินโครงการ

เอกสารสรุปรายงานการดำเนินโครงการกิจกรรม
ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1. ปกรายงาน
ส่วนที่ 2. ใบรองปก ( ปกใน )
ส่วนที่ 3. คำนำ
ส่วนที่ 4. สารบัญ
ส่วนที่ 5. โครงการที่ได้รับการอนุมัติ
ส่วนที่ 6. กำหนดการ
ส่วนที่ 7. สำเนาบันทึกข้อความที่ใช้ในการขออนุญาตดำเนินโครงการและขออนุมัติงบประมาณ
ส่วนที่ 8 ใบคำร้องเบิกเงินงบประมาณ ( สค.01 )
ส่วนที่ 9. รายงานการสรุปโครงการกิจกรรมนักศึกษา
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรม
- รายงานสรุปงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการกิจกรรม
- ภาพประกอบการดำเนินโครงการกิจกรรม
- รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการกิจกรรม
ส่วนที่ 10. ตัวอย่างแบบสอบถามการประเมินผลโครงการ ( ถ้ามี )
ส่วนที่ 11. สรุปผลจากการประเมินแบบสอบถาม ( ต่อเนื่องกับส่วนที่ 10 )

หมายเหตุ : การดำเนินการหลังเสร็จสิ้นโครงการ/กิจกรรมของสโมสรนักศึกษา และชมรม
1. หลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ให้ดำเนินการยื่นเอกสารชำระหลักฐานเงินค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา ภายใน 7 วัน โดยให้นำใบเสร็จฉบับจริง
ทุกฉบับใช้เป็นหลักฐานประกอบการชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ
2. ให้สำเนาใบคำร้องเบิกเงินงบประมาณ (สค.01) , ใบคำร้องชำระหลักฐานทางบัญชี (สค.02)
และเอกสารประกอบอื่นๆ รวมทั้งใบเสร็จค่าใช้จ่ายทุกฉบับ เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
3. ให้สโมสรนักศึกษา และหรือชมรมที่ดำเนินโครงการกิจกรรม จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ
ที่ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามแบบฟอร์ม (สน.13) ยื่นเสนอส่ง สำนักงานกิจการนักศึกษาภาย
ใน 30 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดโครงการ
4. ในกรณีที่ใช้เงินงบประมาณของมหาวิทยาลัย และมีเงินเหลือจากการดำเนินกิจกรรม ให้รีบนำส่ง
ชำระคืนมหาวิทยาลัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่สิ้นสุดโครงการ โดยติดต่อขอคืนเงินงบประมาณที่เหลือ
จากการใช้จ่ายในโครงการ และดำเนินการชำระหลักฐานทางบัญชีที่สำนักงานกิจการนักศึกษา
( ตามข้อ 1 )


สรุปรายงานการดำเนินงาน
โครงการ............................................... ...................

ตราสัญลักษณ์
ของสโมสรนักศึกษา หรือชมรม
หรือรูปภาพประกอบบนปกรายงาน
สื่อให้เห็นถึง
โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

สรุปโครงการ…………………………………………….
จัดโดย ……………………………….
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี


วันที่…….เดือน…………………พ.ศ…………….
สถานที่………………………………..
ประจำปีการศึกษา……………………

สรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมนักศึกษา

ชื่อโครงการ………………………………………………
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- นักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ………………………………………
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ .…………………………………………
หลักการและเหตุผล……………………………………………………………
…………………………………………………………………
…………………………………………………………………….
………………………………………………………………….
…………………………………………………………….
……………………………………………………………………….

วัตถุประสงค์โครงการ……………………………………………………
………………………………………………………………………
……………………………………………………………………….…………………………………………………………………….…………………………………………………………………….
กลุ่มเป้าหมาย……………………………............................……
…………………………………………………….……………………
........................………………………………………………

วิธีการดำเนินงาน
1………………………………………………………………
2..……………………………………………………………
3..………………………………………………………………
4…………………………………………………………………
5.….……………………………………………………………
6.….……………………………………………………………
7.….……………………………………………………………
8.….………………………………………………………
ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
…………………………………………………
สถานที่ปฏิบัติงาน
………………………………………………….
ผลการดำเนินงานกิจกรรม
…………………………………………………..……
………………….……………………………………
….………………………………………………………
การประเมินโครงการ
……………………………………………………………
……………………………………………………………
……………………………………………………………
……………………………………………………………
……………………………………………………………
……………………………………………………………

ปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
1. …….…………………………………………………
2. ………………………………………………………
3. ………………………………………………………
4. ………………………………………………………
5. ……………..………………………………………
6. ………………………………………………………
7. ………………………………………………………
8. ………………………………………………………

ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป.............................
...........................................................................
...........................................................................
............................................................................

รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ
งบประมาณที่ได้รับ จำนวน………………......บาท ใช้จ่ายจริง…………………บาท เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
1…..………………………………………….……บาท
2……..……………………………………….……บาท
3………..…………………………………….……บาท
4…………..……………………………………….บาท
5……………..…………………………….………บาท
6………………..………………………….………บาท
7…………………..……………………….………บาท
8……………………..…………………….………บาท
9………………………..………………….………บาท
10………………………………………….………บาท
11………………………………………….………บาท

รวม……….…………………………...................บาท


(.....................................) (.........................................)
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ประธานประธานโครงการ


รายงานสรุปงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการกิจกรรมนักศึกษา

ชื่อโครงการ……………………
ดำเนินงานระหว่างวันที่………….เดือน………………..พ.ศ………
สถานที่……………………………
หน่วยงานรับผิดชอบ สโมสรนักศึกษา / ชมรม.........................................
ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจำนวน …………...บาท (…………………..)

ลำดับ
รายการ ..........................
งบประมาณที่ได้รับ ................(บาท)
ค่าใช้จ่ายจริง .................(บาท)
คงเหลือ .......................(บาท)





ค่าใช้จ่ายจริงรวม ……………………......บาท (…………..………………..)
คงเหลือ จำนวนเงิน ..………………..……บาท (…………..…………………)

………………….………………….. ……….………….………………..
(……………………………..………) (…………………..………………)
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้สรุปงบประมาณค่าใช้จ่าย ประธานโครงการ
………./…………./………… ………./…………./…………



ภาพประกอบ
การสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม

ภาพประกอบคำบรรยายการดำเนินงาน
โครงการ/กิจกรรม
เป็นภาพถ่ายสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ประมาณ 5-6 รูป




(คำบรรยายประกอบ ภาพที่ 1 )……………………………………….
…………………………………………………


ภาพประกอบคำบรรยาย




(คำบรรยายประกอบภาพที่ 2 )…………………………….
…………………………………………………………….


รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมทำกิจกรรม
โครงการ............................................
ณ .............................................
วันที่............เดือน.....................พ.ศ. 25.........
1. .........................................................................
2. .........................................................................
3. ........................................................................

การสร้างเครือข่าย (Networking)

การสร้างเครือข่าย (Networking)
ความหมาย
เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน
ประเด็นสำคัญของนิยามข้างต้น คือ
Ø ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
Ø กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
Ø การเป็นสมาชิก เครือข่ายต้องไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้น ๆ
การเชื่อมโยงในลักษณะของเครือข่าย ไม่ได้หมายถึงการจัดการให้คนมานั่ง “รวมกัน” เพื่อพูดคุยสนทนากันเฉยๆโดยไม่ได้ “ร่วมกัน” ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เปรียบเหมือนการเอาก้อนอิฐมากองรวมกัน ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด การเชื่อมโยงเข้าหากันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเอาอิฐแต่ละก้อนมาก่อกันเป็นกำแพงโดยการประสานอิฐแต่ละก้อนเข้ากันอย่างเป็นระบบ... และก็ไม่ใช่เป็นแค่การรวมกลุ่มของสมาชิกที่มีความสนใจร่วมกันเพียงเพื่อพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเท่านั้น แต่จะต้องพัฒนาไปสู่ระดับของการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันด้วย.... และไม่ใช่การรวบรวมรายชื่อบุคคลที่มีความสนใจเหมือนกันไว้ในมือเพื่อสะดวกแก่การติดต่อ ... การมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนหาสมาชิกเพิ่มขึ้น ยิ่งได้รายชื่อมามากก็ยิ่งทำให้เครือข่ายใหญ่ขึ้น การกระทำเช่นนี้เปรียบเสมือนการขยายถุงใส่อิฐให้โตขึ้นเพื่อจะได้บรรจุอิฐได้มากขึ้น แต่กองอิฐในถุงก็ยังวางระเกะระกะขาดการเชื่อมโยงประสานกันอย่างเป็นระบบ
ดังนั้น เครือข่ายต้องมีการจัดระบบให้กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่เป็นสมาชิกดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเฉพาะกิจตามความจำเป็น เมื่อภารกิจบรรลุเป้าหมายแล้ว เครือข่ายก็อาจยุบสลายไป แต่ถ้ามีความจำเป็นหรือมีภารกิจใหม่อาจกลับมารวมตัวกันได้ใหม่ หรือจะเป็นเครือข่ายที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องระยะยาวก็ได้
การรวมตัวเป็นเครือข่ายในลักษณะการแลกเปลี่ยน ต้องสะกัดเอาส่วนดีหรือ จุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาเรียนรู้และสนับสนุนกันและกัน เป็นการผนึกกำลัง (synergy) ในลักษณะที่มากกว่า 1+1 = 2 แต่ต้องเป็น 1+1 > 2 เรียกว่าเป็น “พลังทวีคูณ” ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานเป็นเครือข่ายต้องดีกว่าผลรวมที่เกิดจากการปล่อยให้ต่างคนต่างทำแล้วนำผลลัพธ์ของแต่ละคนมารวมกัน

องค์ประกอบของเครือข่าย
เครือข่ายเทียม (Pseudo network) หมายถึงเครือข่ายชนิดที่เราหลงผิดคิดว่าเป็นเครือข่าย แต่แท้จริงแล้วเป็นแค่การชุมนุมพบปะสังสรรค์ระหว่างสมาชิก โดยที่ต่างคนต่างก็ไม่ได้มีเป้าหมายร่วมกัน และไม่ได้ตั้งใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการรวมกลุ่มแบบเฮโลสาระพา หรือรวมกันตามกระแสนิยมที่ไม่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ลักษณะของเครือข่ายลวงจะไม่มีการสานต่อระหว่างสมาชิก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถสร้างเครือข่ายแท้แทนการสร้างเครือข่ายเทียม
เครือข่าย (แท้) มีองค์ประกอบสำคัญอยู่อย่างน้อย 7 อย่างด้วยกัน คือ
มีการรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน (common perception)
การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (common vision)
มีความสนใจหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน (mutual interests/benefits)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (stakeholders participation)
มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (complementary relationship)
มีการเกื้อหนุนพึ่งพากัน (interdependent)
มีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยน (interaction)

มีการรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน (common perception)
สมาชิกในเครือข่าย ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้เหมือนกันถึงเหตุผลในการเข้ามาร่วมกันเป็น เครือข่าย อาทิเช่น มีความเข้าใจในตัวปัญหาและมีจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประสบกับปัญหาอย่างเดียวกันหรือต้องการความช่วยเหลือในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกของเครือข่ายเกิดความรู้สึกผูกพันในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือลดความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
การรับรู้ร่วมกันถือเป็นหัวใจของเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยการรับรู้ที่ต่างกัน มีมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนกันแล้ว จะประสานงานและขอความร่วมมือยาก เพราะแต่ละคนจะติดอยู่ในกรอบความคิดของตัวเอง มองปัญหาหรือความต้องการไปคนละทิศละทาง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสมาชิกของเครือข่ายจะมีความเห็นที่ต่างกันไม่ได้ เพราะมุมมองที่แตกต่างช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์ ในการทำงาน แต่ความแตกต่างนั้นต้องอยู่ในส่วนของกระบวนการ (process) ภายใต้การรับรู้ถึงปัญหาที่สมาชิกทุกคนยอมรับแล้ว มิฉะนั้นความเห็นที่ต่างกันจะนำไปสู่ความแตกแยกและแตกหักในที่สุด

การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (common vision)
วิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึงการที่สมาชิกมองเห็นจุดมุ่งหมายในอนาคตที่เป็นภาพเดียวกัน มีการรับรู้และเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และมีเป้าหมายที่จะเดินทางไปด้วยกัน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันจะทำให้กระบวนการขับเคลื่อนเกิดพลัง มีความเป็นเอกภาพ และช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายของสมาชิกบางกลุ่มขัดแย้งกับวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายของเครือข่าย พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มนั้นก็จะเริ่มแตกต่างจากแนวปฎิบัติที่สมาชิกเครือข่ายกระทำร่วมกัน ดังนั้น แม้ว่าจะต้องเสียเวลามากกับความพยายามในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่ก็จำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้น หรือถ้าสมาชิกมีวิสัยทัศน์ส่วนตัวอยู่แล้ว ก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเครือข่ายให้มากที่สุดแม้จะไม่ซ้อนทับกันแนบสนิทจนเป็นภาพเดียวกัน แต่อย่างน้อยก็ควรสอดรับไปในทิศทางเดียวกัน

มีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ( mutual interests/benefits)
คำว่าผลประโยชน์ในที่นี้ครอบคลุมทั้งผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ไม่ใช่ตัวเงิน เป็นความต้องการ (need) ของมนุษย์ในเชิงปัจเจก (อ่านเรื่องแรงจูงใจในตอนท้าย) อาทิเช่นเกียรติยศ ชื่อเสียง การยอมรับ โอกาสในความก้าวหน้า ความสุข ความพึงพอใจ ฯลฯ
สมาชิกของเครือข่ายเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่ต่างก็มีความต้องการเป็นของตัวเอง (human needs) ถ้าการเข้าร่วมในเครือข่ายสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน ก็จะเป็นแรงจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายมากขึ้น
ดังนั้น ในการที่จะดึงใครสักคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่าย จำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากการเข้าร่วม ถ้าจะให้ดีต้องพิจารณาล่วงหน้าก่อนที่เขาจะร้องขอ ลักษณะของผลประโยชน์ที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับอาจแตกต่างกัน แต่ควรต้องให้ทุกคนและต้องเพียงพอที่จะเป็นแรงจูงใจให้เขาเข้ามีส่วนร่วมในทางปฎิบัติได้จริง ไม่ใช่เป็นเข้ามาเป็นเพียงไม้ประดับเนื่องจากมีตำแหน่งในเครือข่าย แต่ไม่ได้ร่วมปฎิบัติภาระกิจ เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกเห็นว่าเขาเสียประโยชน์มากกว่าได้ หรือเมื่อเขาได้ในสิ่งที่ต้องการเพียงพอแล้ว สมาชิกเหล่านั้นก็จะออกจากเครือข่ายไปในที่สุด

การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (stakeholders participation)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในเครือข่าย เป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือกระทำอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น สถานะของสมาชิกในเครือข่ายควรมีความเท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่ในฐานะ “หุ้นส่วน (partner)” ของเครือข่าย เป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ (horizontal relationship) คือความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน มากกว่าความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (vertical relationship) ในลักษณะเจ้านายลูกน้อง ซึ่งบางครั้งก็ทำใด้ยากในทางปฎิบัติเพราะต้องเปลี่ยนกรอบความคิดของสมาชิกในเครือข่ายโดยการสร้างบริบทแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาประกอบ แต่ถ้าทำได้จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายมาก

มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน ( complementary relationship)
องค์ประกอบที่จะทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง คือ การที่สมาชิกของเครือข่ายต่างก็สร้างความเข้มแข็งให้กันและกัน โดยนำจุดแข็งของฝ่ายหนึ่งไปช่วยแก้ไขจุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วทำให้ได้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้นในลักษณะพลังทวีคูณ (1+1 > 2) มากกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อต่างคนต่างอยู่

การเกื้อหนุนพึ่งพากัน ( interdependence )
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เครือข่ายดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน การที่สมาชิกเครือข่ายตกอยู่ในสภาวะจำกัดทั้งด้านทรัพยากร ความรู้ เงินทุน กำลังคน ฯลฯ ไม่สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากเครือข่าย จำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในเครือข่าย การทำให้หุ้นส่วนของเครือข่ายยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น จำเป็นต้องทำให้หุ้นส่วนแต่ละคนรู้สึกว่าหากเอาหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งออกไปจะทำให้เครือข่ายล้มลงได้ การดำรงอยู่ของหุ้นส่วนแต่ละคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเครือข่าย การเกื้อหนุนพึ่งพากันในลักษณะนี้จะส่งผลให้สมาชิกมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยอัตโนมัติ

มีปฎิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน ( interaction )
หากสมาชิกในเครือข่ายไม่มีการปฎิสัมพันธ์กันแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนหินแต่ละก้อนที่รวมกันอยู่ในถุง แต่ละก้อนก็อยู่ในถุงอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นสมาชิกในเครือข่ายต้องทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่น มีการติดต่อกันผ่านทางการเขียน การพบปะพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรือมีกิจกรรมประชุมสัมมนาร่วมกัน โดยที่ผลของการปฎิสัมพันธ์นี้ต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเครือข่ายตามมาด้วย
ลักษณะของปฎิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกควรเป็นการแลกเปลี่ยนกัน (reciprocal exchange) มากกว่าที่จะเป็นผู้ให้หรือเป็นผู้รับฝ่ายเดียว (unilateral exchange) ยิ่งสมาชิกมีปฎิสัมพันธ์กันมากเท่าใดก็จะเกิดความผูกพันระหว่างกันมากขึ้นเท่านั้น ทำให้การเชื่อมโยงแน่นแฟ้นมากขึ้น มีการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย
องค์ประกอบข้างต้นไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปช่วยจำแนกระหว่างเครือข่ายแท้ กับเครือข่ายเทียมเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วย

การก่อเกิดของเครือข่าย
เครือข่ายแต่ละเครือข่าย ต่างมีจุดเริ่มต้น หรือถูกสร้างมาด้วยวิธีการต่างๆกัน แบ่งชนิดของเครือข่ายออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครือข่ายที่เกิดโดยธรรมชาติ
เครือข่ายชนิดนี้มักเกิดจากการที่ผู้คนมีใจตรงกัน ทำงานคล้ายคลึงกันหรือประสบกับสภาพปัญหาเดียวกันมาก่อน เข้ามารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ ร่วมกันแสวงหาทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า การดำรงอยู่ของกลุ่มสมาชิกในเครือข่ายเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นภายในตัวสมาชิกเอง (ฉันทะ) เครือข่ายเช่นนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ อาศัยความเป็นเครือญาติ เป็นคนในชุมชนหรือมาจากภูมิลำเนาเดียวกันที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มโดยจัดตั้งเป็นชมรมที่มีกิจกรรมร่วมกันก่อน เมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจึงขยายพื้นที่ดำเนินการออกไป หรือมีการขยายเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ของกลุ่มมากขึ้น ในที่สุดก็พัฒนาขึ้นเป็นเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมต่อความต้องการของสมาชิกได้กว้างขวางขึ้น
เครือข่ายประเภทนี้ มักใช้เวลาก่อร่างสร้างตัวที่ยาวนาน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะเข้มแข็ง ยั่งยืน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
2. เครือข่ายจัดตั้ง
เครือข่ายจัดตั้งมักจะมีความเกี่ยวพันกับนโยบายหรือการดำเนินงานของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ การจัดตั้งอยู่ในกรอบความคิดเดิมที่ใช้กลไกของรัฐผลักดันให้เกิดงานที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และส่วนมากภาคีหรือสมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่ายมักจะไม่ได้มีพื้นฐาน ความต้องการ ความคิด ความเข้าใจ หรือมุมมองในการจัดตั้งเครือข่ายที่ตรงกันมาก่อนที่จะเข้ามารวมตัวกัน เป็นการทำงานเฉพาะกิจชั่วคราวที่ไม่มีความต่อเนื่อง และมักจะจางหายไปในที่สุด เว้นแต่ว่าเครือข่ายจะได้รับการชี้แนะที่ดี ดำเนินงานเป็นขั้นตอนจนสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดเป็นความผูกพันระหว่างสมาชิกจนนำไปสู่การพัฒนาเป็นเครือข่ายที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มสมาชิกจะยังคงรักษาสถานภาพของเครือข่ายไว้ได้ แต่มีแนวโน้มที่จะลดขนาดของเครือข่ายลงเมื่อเปรียบเทียบระยะก่อตั้ง
3. เครือข่ายวิวัฒนาการ
เป็นการถือกำเนิดโดยไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติตั้งแต่แรก และไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยตรงแต่มีกระบวนการพัฒนาผสมผสานอยู่ โดยเริ่มที่กลุ่มบุคคล/องค์กรมารวมกันด้วยวัตถุประสงค์กว้างๆ ในการสนับสนุนกันและเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยยังไม่ได้สร้างเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เฉพาะที่ชัดเจนนัก หรืออีกลักษณะหนึ่งคือถูกจุดประกายความคิดจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการได้รับฟัง หรือการไปได้เห็นการดำเนินงานของเครือข่ายอื่นๆมา แล้วเกิดความคิดที่จะรวมตัวกัน สร้างพันธสัญญาเป็นเครือข่ายช่วยเหลือและพัฒนาตนเอง เครือข่ายที่ว่านี้แม้จะไม่ได้เกิดจากแรงกระตุ้นภายในโดยตรงตั้งแต่แรก แต่ถ้าสมาชิกมีความตั้งใจจริงที่เกิดจากจิตสำนึกที่ดี เมื่อได้รับการกระตุ้นและสนับสนุน ก็จะสามารถพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งทำนองเดียวกันกับเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เครือข่ายในลักษณะนี้พบเห็นอยู่มากมาย เช่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น

ปรัชญาการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายต้องคำนึงถึงเสมอว่า “เครือข่าย” เป็นกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ การนำเครือข่ายต้องมี LINK หมายถึง “การเขื่อมโยง”
L – Learning การเรียนรู้
I – Investment การลงทุน
N – Nature การฟูมฟักบำรุง
G (K) – Give การรักษาสัมพันธภาพ ซึ่งรวมกันเป็นคำว่า LINK หมายถึงการเชื่อมโยง

การสร้างเครือข่าย (Networking)
การสร้างเครือข่าย หมายถึงการทำให้มีการติดต่อ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ การสร้างเครือข่ายควรสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้สมาชิกในเครือข่ายมีความพัมพันธ์กันฉันท์เพื่อน ที่ต่างก็มีความเป็นอิสระมากกว่าสร้างการคบค้าสมาคมแบบพึ่งพิง นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายต้องไม่ใช่การสร้างระบบติดต่อด้วยการเผยแพร่ข่าวสารแบบทางเดียว เช่นการส่งจดหมายข่าวไปให้สมาชิกตามรายชื่อ แต่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันด้วย

ความจำเป็นที่ต้องมีเครือข่าย
การพัฒนางานหรือการแก้ปัญหาใดๆที่ใช้วิธีดำเนินงานในรูปแบบที่สืบทอดกันเป็นวัฒนธรรมภายในกลุ่มคน หน่วยงานหรือองค์กรเดียวกัน จะมีลักษณะไม่ต่างจากการปิดประเทศที่ไม่มีการติดต่อสื่อสารกับภายนอก การดำเนินงานภายใต้กรอบความคิดเดิม อาศัยข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ภายใน ใช้ทรัพยากรหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่พอจะหาได้ใกล้มือ หรือถ้าจะออกแบบใหม่ก็ต้องใช้เวลานานมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอย่างยิ่งและไม่อาจแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
การสร้าง “เครือข่าย” สามารถช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้ด้วยการเปิดโอกาสให้บุคคลและองค์กรได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารรวมทั้งบทเรียนและประสบการณ์กับบุคคลหรือองค์กรที่อยู่นอกหน่วยงานของตน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ให้ความร่วมมือและทำงานในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เสมือนการเปิดประตูสู่โลกภายนอก

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเครือข่าย เพื่อความยั่งยืน
1. สมาชิกที่เข้าร่วม ต้องเข้าใจเป้าหมายในการรวมตัวกันว่าจะก่อให้เกิดความสำเร็จในภาพรวม
2. สร้างการยอมรับในความแตกต่างระหว่างสมาชิก ยอมรับในรูปแบบและวัฒนธรรมองค์กรของสมาชิก
3. มีกิจกรรมสม่ำเสมอและมากพอที่จะทำให้สมาชิกได้ทำงานร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่ต้องแน่ใจว่าทำได้ และกระจายงานได้ทั่วถึง ควรเลือกกิจกรรมที่ง่ายและมีแนวโน้มประสบผลสำเร็จ อย่าทำกิจกรรมที่ยากโดยเฉพาะครั้งแรกๆ เพราะถ้าทำไม่สำเร็จอาจทำให้เครือข่ายที่เริ่มก่อตัวเกิดการแตกสลายได้
4. จัดให้มีและกระตุ้นให้มีการสื่อสารระหว่างกันอย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ
5. สนับสนุนสมาชิกทุกกลุ่ม และทุกด้านที่ต้องการความช่วยเหลือ เน้นการช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกที่ยังอ่อนแอให้สามารถช่วยตนเองได้
6. สร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในเครือข่าย
7. สนับสนุนให้สมาชิกได้พัฒนางานอย่างเต็มกำลังตามศักยภาพและความชำนาญที่มีอยู่ โดยร่วมกันตั้งเป้าหมายในการพัฒนางานให้กับสมาชิกแต่ละกลุ่ม ส่งผลให้สมาชิกแต่ละกลุ่มมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เป็นพื้นฐานในการสร้างความหลากหลายและเข้มแข็งให้กับเครือข่าย
8. สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ระหว่างบุคลากรทุกระดับของสมาชิกในเครือข่ายในลักษณะความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน
9. จัดกิจกรรมให้สมาชิกใหม่ของเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดความเป็นเครือข่ายต่อไป
10. จัดให้มีเวทีระหว่างคนทำงานเพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการทำงานด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
11. จัดให้มีช่องทางการทำงานร่วมกัน การสื่อสารที่ง่ายต่อการเข้าถึงที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เช่น สร้างระบบการส่งต่องาน และสร้างเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน

ผู้จัดการเครือข่าย
มีหน้าที่ในการดูแลรักษาเครือข่ายดังต่อไปนี้
1. ช่วยสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นสมาชิกรวมตัวกันทำงาน โดยมีกิจกรรมเป็นสื่อ เช่นการประชุมประจำปี การจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล การแก้ปัญหาร่วมกัน การวางแผนและดำเนินการจัดกิจกรรมใหม่
2. สมาชิกแกนนำต้องเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างกัน ส่งข่าวผ่านจดหมาย ข่าวของเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เก็บรวมรวมข้อมูลและตั้งเป็นศูนย์ข้อมูลของเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกเข้าถึง
3. สร้างความรักความผูกพันและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคนในกลุ่มสมาชิก เริ่มจัดกิจกรรมง่ายๆที่มีโอกาสประสบความสำเร็จร่วมกันก่อน มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในกลุ่มสมาชิกเป็นประจำ จัดเวทีให้มีการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาเมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างกลุ่มสมาชิก จัดกิจกรรมส่งต่องานที่เกี่ยวข้อง
4. จัดให้มีกระบวนการตัดสินใจโดยให้สมาชิกทุกกลุ่มมีส่วนร่วม พยายามสร้างสภาพแวดล้อมให้มี การเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ไม่รวบอำนาจ ควรแบ่งกันเป็นผู้นำตามความถนัด ทำการรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกทุกกลุ่มก่อนการตัดสินใจเพื่อทำให้เกิดการยอมรับและเต็มใจที่จะนำผลการตัดสินใจของเครือข่ายไปปฎิบัติ
5. วางแผนในการประสานงานระหว่างสมาชิก และเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ จัดระบบการประสานงานให้คล่องตัวและทั่วถึง การประสานงานถือเป็นหน้าที่หลักของสมาชิกแกนนำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนทุกระดับให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

คุณสมบัติของกลุ่มสมาชิกแกนนำ
การพัฒนาสมาชิกแกนนำที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่กลุ่มสมาชิกเครือข่ายอื่นๆ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากคนภายนอก เป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้คนภายนอกอยากเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของเครือข่ายมากขึ้น สมาชิกแกนนำจะต้องมีการพัฒนากลุ่มเพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีวุฒิภาวะสูง มีความเป็นทีม ประสิทธิภาพสูง มีการรวมตัวของสมาชิกในกลุ่มสูง มีการสื่อสารทั่วถึงและโปร่งใส มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิก ใช้กระบวนการการตัดสินใจแบบให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการประสานงานระหว่างสมาชิกให้ครบถ้วนไม่ตกหล่นและเป็นเอกภาพ ประสานงานกับองค์กรภายนอกเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

การรักษาเครือข่าย
ตราบใดที่ภารกิจเครือข่ายยังไม่สำเร็จย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาเครือข่ายไว้ ประคับประคองให้เครือข่ายสามารถดำเนินการต่อไปได้ และบางกรณีหลังจากเครือข่ายได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ก็จำเป็นต้องรักษาความสำเร็จของเครือข่ายไว้ หลักการรักษาความสำเร็จของเครือข่าย มีดังนี้
1. มีการจัดกิจกรรมร่วมที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง
2. มีการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกเครือข่าย
3. กำหนดกลไกสร้างระบบจูงใจ
4. จัดหาทรัพยากรสนับสนุนเพียงพอ
5. ให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไขปัญหา
6. มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
1. การจัดกิจกรรมร่วมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เครือข่ายจะก้าวไปสู่ช่วงชีวิตที่ถดถอยหากไม่มีกิจกรรมใดๆที่สมาชิกของเครือข่ายสามารถกระทำร่วมกัน ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อไม่มีกิจกรรมก็ไม่มีกลไกที่จะดึงสมาชิกเข้าหากัน สมาชิกของเครือข่ายก็จะไม่มีโอกาสปฎิสัมพันธ์กัน เมื่อการปฎิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิดลดลงก็ส่งผลให้เครือข่ายเริ่มอ่อนแอ สมาชิกจะเริ่มสงสัยในการคงอยู่ของเครือข่าย บางคนอาจพาลคิดไปว่าเครือข่ายล้มเลิกไปแล้ว
ความยั่งยืนของเครือข่ายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้มีการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกิจกรรมดังกล่าวกลายเป็นแบบแผน (pattern) ของการกระทำที่สมาชิกของเครือข่ายยอมรับโดยทั่วกัน ด้วยเหตุนี้ การที่จะรักษาเครือข่ายไว้ได้ต้องมีการกำหนดโครงสร้างและตารางกิจกรรมไว้ให้ชัดเจน ทั้งในแง่ของเวลา ความถี่ และต้องเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเพียงพอที่จะดึงดูดสมาชิกให้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมเดียวที่ใช้สำหรับสมาชิกทุกคน ในสำรวจดูความต้องการเฉพาะของสมาชิกในระดับย่อยลงไปในแต่ละคนและแต่ละกลุ่ม กล่าวคือควรจะมีกิจกรรมย่อยที่หลากหลายเพียงพอที่จะตอบสนองความสนใจของสมาชิกกลุ่มย่อยในเครือข่ายด้วย โดยที่กิจกรรมเหล่านี้ก็ยังต้องอยู่ในทิศทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของเครือข่าย กิจกรรมเหล่านี้อาจจัดในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การวางแผนงานร่วมกัน การพบปะเพื่อประเมินผลร่วมกันประจำทุกเดือน ฯลฯ หรือจัดในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น จัดกีฬาสันทนาการระหว่างสมาชิก จัดงานประเพณีท้องถิ่นร่วมกัน เป็นต้น ในกรณีที่เครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขวางมาก กิจกรรมไม่ควรรวมศูนย์อยู่เฉพาะส่วนกลาง ควรกระจายจุดพบปะสังสรรค์หมุนเวียนกันไปเพื่อให้สมาชิกเข้าร่วมได้โดยสะดวก
2. การรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกเครือข่าย
สัมพันธภาพที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการรักษาเครือข่ายให้ยั่งยืนต่อไป ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเสมือนน้ำมันที่คอยหล่อลื่นการทำงานร่วมกันให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เมื่อใดที่สมาชิกของเครือข่ายเกิดความรู้สึกบาดหมางไม่เข้าใจกัน หรือเกิดความขัดแย้งระหว่างกันโดยหาข้อตกลงไม่ได้ สัมพันธ ภาพระหว่างสมาชิกก็จะเริ่มแตกร้าว ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขอย่างทันท่วงที ก็จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยและความสิ้นสุดลงของเครือข่ายได้ ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยเฉพาะ และควรจัดอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่จัดในช่วงที่มีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้สมาชิกของเครือข่ายพึงตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสัมพันธภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งหรือความไม่เข้าใจกันที่อาจเกิดขึ้น สมาชิกควรแสดงความเป็นมิตรต่อกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งต้องรีบแก้ไขและดำเนินการไกล่เกลี่ยให้เกิดความเข้าใจกันใหม่ นอกจากนี้ควรมีมาตรการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน เช่น ในการจัดโครงสร้างองค์กรควรแบ่งอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อน การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่สมาชิกยอมรับร่วมกัน การจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ การกำหนดผู้นำที่เหมาะสม การกำหนดกติกาอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน เป็นต้น
3. การกำหนดกลไกสร้างระบบจูงใจ
สมาชิกจะยังเข้าร่วมกิจกรรมของเครือข่ายตราบเท่าที่ยังมีสิ่งจูงใจเพียงพอที่จะดึงดูดให้เข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดกลไกบางประการที่จะช่วยจูงใจให้สมาชิกเกิดความสนใจอยากเข้ามีส่วนร่วม ซึ่งตามทฤษฎีแรงจูงใจแล้ว ปัจเจกต่างก็มีสิ่งจูงใจที่ต่างกัน ดังนั้นควรทำการวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ถึงแรงจูงใจที่แตกต่างหลากหลายในแต่ละบุคคล แล้วทำการจัดกลุ่มของสิ่งจูงใจที่ใกล้เคียงกันออกเป็นกลุ่ม ๆ อาทิ ค่าตอบแทน เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับ ฯลฯ อันจะนำไปสู่มาตรการในการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคคลในแต่ละกลุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง
ถ้าจำเป็นจะต้องให้ค่าตอบแทนเพื่อเป็นสิ่งจูงใจ ควรเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลงานมากกว่าการให้ผลตอบแทนในลักษณะเหมาจ่าย กล่าวคือผู้ที่รับค่าตอบแทนต้องสร้างผลงานเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน โดยผลงานที่ได้ต้องสนับสนุนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย และควรมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน เพื่อสร้างทักษะผูกพันระหว่างผู้รับทุนและผู้ใช้ทุน การให้ค่าตอบแทนก็ไม่ควรให้ทั้งหมดในงวดเดียว ทั้งนี้เพื่อให้มีการปรับลดค่าตอบแทนได้หากผู้รับทุนไม่ดำเนินการตามสัญญา
ในกรณีที่ต้องการให้เกียรติยศและชื่อเสียงเป็นสิ่งจูงใจโดยเฉพาะในงานพัฒนาสังคมที่มักจะไม่มีค่าตอบแทนการดำเนินงาน จำเป็นต้องหาสิ่งจูงใจอื่นมาชดเชยสิ่งตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ตามทฤษฎีของ Maslow ความต้องการการยกย่องจากผู้อื่น (esteem needs) ที่อยู่ในรูปของอำนาจเกียรติยศชื่อเสียง หรือสถานะทางสังคม เป็นสิ่งที่นำมาใช้จูงใจได้ อาจทำเป็นรูป “สัญลักษณ์” บางอย่าง ที่สื่อถึงการได้รับเกียรติยศ การยกย่องและมีคุณค่าทางสังคม เช่น การประกาศเกียรติยศ เข็มเชิดชูเกียรติ โล่เกียรติยศ เป็นต้น โดยสัญลักษณ์เหล่านี้ต้องมีคุณค่าเพียงพอให้เขาปรารถนาอยากที่จะได้ และควรมีเกียรติยศหลายระดับที่จูงใจสมาชิกเครือข่ายให้ร่วมมือลงแรงเพื่อไต่เต้าไปสู่ระดับที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่อง และควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่รายชื่อคนกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง
4. การจัดหาทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ
หลายเครือข่ายต้องหยุดดำเนินการไป เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานที่เพียงพอ ทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และบุคลากร ที่สำคัญคือเงินทุนในการดำเนินงานซึ่งเปรียบเสมือนเลือดที่ไหลเวียนหล่อเลี้ยงเครือข่ายให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เมื่อขาดเงินทุนเพียงพอที่จะจุนเจือ เครือข่ายอาจต้องปิดตัวลงในที่สุด หากได้รับการสนับสนุนจะต้องมีระบบตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างรัดกุม และมีการรายงานผลเป็นระยะ หากการดำเนินงานไม่คืบหน้าอาจให้ระงับทุนได้
5. การให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไขปัญหา
เครือข่ายอาจเกิดปัญหาระหว่างการดำเนินงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายที่เพิ่งเริ่มดำเนินการใหม่ๆ การมีที่ปรึกษาที่ดีคอยให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือจะช่วยให้เครือข่ายสามารถดำเนินการต่อไปได้ และช่วยหนุนเสริมให้ครือข่ายเกิดความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ควรมีที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ เป็นแหล่งข้อมูลให้ศึกษาค้นคว้า และช่วยอบรมภาวะการเป็นผู้นำให้กับสมาชิกเครือข่าย
6. การสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
องค์กรหรือเครือข่ายที่เคยประสบความสำเร็จกลับต้องประสบกับความล้มเหลวอย่างรุนแรงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะไม่ได้“สร้างคน” ขึ้นมารับไม้ผลัดต่อจากคนรุ่นก่อนเพื่อสานต่อภาระกิจของเครือข่าย จำเป็นต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง เครือข่ายต้องคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทั้งด้านความรู้ความสามารถ การมีประสบการณ์ร่วมกับเครือข่ายและที่สำคัญ คือเป็นที่ยอมรับนับถือและสามารถเป็นศูนย์รวมใจของคนในเครือข่ายได้ ดำเนินการให้คนเหล่านี้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการทำหน้าที่เป็นสมาชิกแกนหลัก เพื่อสืบสานหน้าที่ต่อไปเมื่อสมาชิกแกนหลักต้องหมดวาระไป

ที่มา
งานส่งเสริมเครือข่าย, องค์ประกอบของเครือข่าย, การพัฒนาเครือข่ายสู่ความยั่งยืน. กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ http://oppn.opp.go.th/research01.php
ธนา ประมุขกุล. เครือข่าย. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กค-กย 2544

ความหมายของผู้นำ ภาวะผู้นำ

ความหมายของผู้นำ ภาวะผู้นำ


ความหมายของผู้นำ (Leader)
ความหมายของคำว่าผู้นำ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Leader” นั้น ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นหรือได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้า
ผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) เพราะมีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา และจะพาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือหมู่ชนไปในทางที่ดีหรือชั่วได้
2. ผู้นำ คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มคนหลาย ๆ คนที่มีอำนาจอิทธิพลหรือความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิบัติตามความคิดเห็นความต้องการหรือคำสั่งของเขาได้
3. ผู้นำ คือ ผู้ที่มีอิทธิพลในทางที่ถูกต้องต่อการกระทำของผู้อื่นมากกว่าคนอื่น ๆ
ในกลุ่มหรือองค์กรซึ่งเขาปฏิบัติงานอยู่
4. ผู้นำ คือ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่มเพื่อให้เป็นหัวหน้า
5. ผู้นำ เป็นคนเดียวในกลุ่มที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผู้ประสานงานกิจกรรมภายในกลุ่ม
โดยสรุปแล้ว ผู้นำคือ ผู้ที่มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น นำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือ ความร่วมมือและความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง

ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)
ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลายประการ เช่น
1. ภาวะผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจเหนือผู้อื่นและอำนาจนี้ช่วยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติงานซึ่งเขาไม่สามารถปฏิบัติคนเดียวได้สำเร็จ และทำให้ผู้ตามยอมรับและเต็มใจปฏิบัติตาม
2. ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคนคนหนึ่ง(ผู้นำ)กับกลุ่ม(ผู้ตาม) ที่มีประโยชน์ร่วมกันและพฤติกรรมตนอยู่ภายใต้การอำนวยการและการกำหนดแนวทางของผู้นำ
3. ภาวะผู้นำ หมายถึง ศิลปะของการบอก ชี้แนะ ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้น
ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้ว ภาวะผู้นำ คือ ศิลปะหรือความสามารถของบุคคลหนึ่งที่จะจูงใจหรือใช้อิทธิพลต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติการและอำนวยการโดยใช้กระบวนการสื่อความหมายหรือการติดต่อกันและกันให้ร่วมใจกับตนดำเนินการจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
บทบาท และหน้าที่ของผู้นำ (Leadership Roles)
ผู้นำมีบทบาทและหน้าที่หลายอย่าง ผู้นำในกลุ่มคนที่ชอบเผด็จการอาจมีหน้าที่อย่างหนึ่งแต่ผู้นำในกลุ่มคนที่ชอบประชาธิปไตยอาจมีบทบาทและหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามบทบาทและหน้าที่ทั่วๆ ไปของผู้นำทุกคน ในกลุ่มคนทุกชนิด มีตรงกันอยู่บ้าง จึงขอสรุปบทบาทและหน้าที่ของผู้นำโดยทั่วๆ ไปเพื่อเป็นแนวความคิดสำหรับผู้บริหารการศึกษา 14 อย่างคือ
1) ผู้นำในฐานะผู้บริหาร (The Leader as Executive)บทบาทที่เห็นได้ชัดที่สุดของผู้นำก็คือบทบาทในฐานะผู้บริหารซึ่งประสานงานระหว่างกลุ่มต่างๆ ในองค์การ หรือในฐานะผู้ประสานงานภายในกลุ่มที่ตนเป็นผู้บริหาร ผู้นำประเภทนี้คอยช่วยให้งานของบุคลากรทุกคนดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้นำจะเป็นผู้คุมนโยบายและกำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และรับผิดชอบคอยดูแลนโยบายและวัตถุประสงค์ของกลุ่มให้มีการปฏิบัติโดยครบถ้วนถูกต้อง
2) ผู้นำในฐานะผู้วางแผน(The Leader as Planner)โดยปกติผู้นำมักทำหน้าที่วางแผนการปฏิบัติงานทุกชนิด เป็นตัดสินใจว่าบุคลากรในหมู่ของตนควรใช้วิธีการอย่างไรและใช้อะไรมาประกอบบ้างเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการ ผู้นำมักทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลด้วยว่าแผนที่วางไว้นั้นมีการดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ผู้นำมักจะเป็นผู้เดียวที่ทราบแผนทั้งหมดโดยถ่องแท้ คนอื่นในกลุ่ม มักรู้เรื่องเฉพาะส่วนที่ตนได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบแต่รู้ไม่หมดทั้งแผน
3) ผู้นำในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (The Leader as Policy Maker) งานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้นำคือ การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหมู่คณะ และการวางนโยบายส่วนมากนโยบายมาจากที่ 3 แห่ง คือ
- มาจาก “เบื้องบน” หรือ เจ้านาย ที่มีตำแหน่งสูง
- มาจาก “เบื้องล้าง” คือ ได้มาจากคำแนะนำ หรือมติของบุคลากรใต้บังคับบัญชา












ภาวะผู้นำทีมที่ดี
ความเป็นผู้นำ (Leadership) คือ ความสามารถที่มีอิทธิพลต่อคนอื่นซึ่งจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายหรือเป็นกระบวนการในการกระตุ้นบุคคลอื่นให้ทำงานหนักจนประสบผลสำเร็จ ในแง่ของสังคม ความเป็นผู้นำคือ กระบวนการที่มีอิทธิพลในทางสังคมที่ทำให้ผู้นำแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่นให้มีส่วนร่วมด้วย ความสมัครใจในการใช้ความพยายามเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย (เสนะ ติเยาว์, 2544:183) ภาวะผู้นำที่ดีต้องฝึกฝน มิใช่เป็นมาแต่เกิด ถ้ามีความปรารถนาหรือมีกำลังใจ ก็สามารถที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ การพัฒนาความเป็นผู้นำเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเรื่องของการศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการศึกษาหรือหาประสบการณ์ก็ได้
เพื่อดลใจให้บุคลากรทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น แน่นอนมีหลายสิ่งที่จะต้องเป็น ต้องรู้ และทำได้ สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นธรรมชาติแต่ต้องศึกษาและทำงาน ผู้นำที่ดีที่สุดต้องศึกษาและทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงทักษะของผู้นำซึ่งทักษะและศิลปะที่ใช้ในการบริหารงานคือภาวะผู้นำ
สรุปได้ว่าภาวะผู้นำ เป็นความสามารถด้านอิทธิพลต่อบุคคลในกลุ่มเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ใช้กระบวนการสั่งการ การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น การมีปฎิสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นอาจกล่าว ได้ว่าภาวะผู้นำเป็นการมีปฎิสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งของกระบวนการ 3 อย่าง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและมีอิทธิพลต่อกัน ได้แก่ ผู้นำ (Leaders) ผู้ตาม (Follows) และสถานการณ์ (Situations) อันนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ภาวะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการผันผวนในทุกๆด้าน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรฝ่าวิกฤตยืนหยัดไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไปได้ ซึ่งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ (Charismatic– Inspirational Leadership) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกด้วยการเป็นแม่แบบที่เข้มแข็งให้ผู้ตามได้เห็นตาม เกิดการรับรู้ในพฤติกรรมของผู้นำ ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผู้นำขึ้น นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังมีพฤติกรรมปฏิบัติที่มีมาตรฐานทางศีลธรรม และศีลธรรมสูงจนเกิดการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทำให้ได้รับความศรัทธา ความไว้วางใจ การยอมรับ นับถืออย่างลึกซึ้งจากผู้ตามพร้อมได้รับความไว้วางใจอย่างสูงอีกด้วย แต่ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าผู้ตามจะเกิดความชื่นชมและศรัทธาแล้วก็ตาม เพราะยังไม่เกิดแรงจูงใจที่สูงพอที่จะเปลี่ยนความยึดติดผลประโยชน์ของตนไปเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมซึ่งค่อนข้างมีลักษณะเป็นนามธรรม ดังนั้นผู้นำจะต้องแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวังที่ผู้นำมีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้ยึดมั่นและร่วมสานฝันต่อวิสัยทัศน์ขององค์การ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายแทน การทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นผู้ที่ส่งเสริมน้ำใจแห่งการทำงานเป็นทีม ผู้นำจะพยายามจูงใจผู้ตามให้ทำงานบรรลุเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการสร้างจิตสำนึกของผู้ตามให้เห็นความสำคัญว่า เป้าหมายและผลงานนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จได้
2. ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกด้วยการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยใช้วิธีการคิดทวนกระแสความเชื่อและค่านิยมเดิมของตนหรือผู้นำหรือองค์การ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความรู้สึกท้าทายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม มองปัญหาเป็นโอกาส และจะให้การสนับสนุนหากต้องการทดลองวิธีการใหม่ ๆ ของตน หรือการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับองค์การ ส่งเสริมให้ผู้ตามแสวงหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองเปิดโอกาสให้ผู้ตามได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ทุกคนได้ทำงานอย่างอิสระในขอบเขตของงานที่ตนมีความรู้ความชำนาญ
3. ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ให้ความสำคัญในการใส่ใจถึงความต้องการความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้าของผู้ตามเป็นรายบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจต้องดูแลใกล้ชิด ในขณะที่บางคนมีความรับผิดชอบสูงอยู่แล้ว จะให้อิสระในการทำงาน เป็นต้น โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาทเป็นครู พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ตามให้พัฒนาระดับความต้องการของตนสู่ระดับที่สูงขึ้น สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจให้แก่ผู้ตามเพื่อให้ทำงานได้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
ภาวะทั้ง 3 องค์ประกอบ จะหลอมรวมพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา ของคนทั่วทั้งองค์กร ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใคร ก็ต้องเก่งพอ และ ดีเพียงพอที่จะเป็นแบบอย่าง ให้แก่ผู้ตาม

สมรรถนะและพฤติกรรมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะของผู้นำสมัยใหม่ หรือผู้นำแบบใหม่มีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและมีความเป็นปัจเจกชนน้อย ต้องทำงานเป็นกลุ่มจึงจะทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากฐานคติ (Assumption) ดังกล่าวและอาศัยแนวความคิดจาก Deming’s system of Profound Knowledge Scholtes เสนอสมรรถนะของผู้นำสมัยใหม่เป็น 4 ประการคือ

สมรรถนะที่ 1 มีความสามารถในการคิดเกี่ยวกับระบบและมีความรู้ในการนำระบบ
ผู้นำในอดีตมักจะคิดถึงองค์กรในรูปของโครงสร้างสายบังคับบัญชาและจะรายงานไปให้ใคร แต่ผู้นำสมัยใหม่จะคิดถึงระบบซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ 8 ประการ คือ
1.ระบบเป็นส่วนรวมของส่วนย่อยหลายส่วนรวมกัน
2.สามารถจำแนกส่วนย่อยของระบบได้
3.แต่ละส่วนย่อยของระบบสนับสนุนวัตถุประสงค์ของระบบแต่ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดแต่เพียงอย่างเดียว
4.แต่ละส่วนย่อยของระบบต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเองแต่เมื่อกระทบต่อระบบโดยรวมจะขึ้นอยู่กับส่วนอื่นๆ แต่ส่วนย่อยของระบบจะมีความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน
5.จะสามารถเข้าใจแต่ละส่วนย่อยจากความเหมาะสมของส่วนนั้น ๆ กับระบบ จะไม่สามารถเข้าใจระบบโดยการ แยกแต่ละส่วนย่อยออกจากระบบ หรือไม่รวมส่วนย่อยเข้าเป็นระบบ
6.การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยต่าง ๆ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบ แต่จะเข้าใจความคงอยู่ของระบบต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกระบบด้วย
7.การที่จะเข้าใจระบบต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ปฏิสัมพันธ์และความเป็นอิสระซึ่งกันและกันของส่วนย่อยต่าง ๆ การจำแนกส่วนย่อยออกจากระบบ จะทำให้ระบบขาดคุณลักษณะที่สำคัญ ใช้ส่วนย่อยต่าง ๆ ของระบบในการวิเคราะห์ (Analysis) และใช้ระบบโดยรวมในการสังเคราะห์ (Synthesis)
8.การพิจารณาองค์กรต้องพิจารณาความซับซ้อนของระบบสังคม (Social System) พร้อมกับระบบเทคนิค (Technical System)

สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในความเข้าใจความแปรปรวนของงานที่จะต้องวางแผนและแก้ปัญหา
ความแปรปรวนของงาน (Work Variation) คือ ความแตกต่างของคุณภาพของงานที่ทำ ซึ่ง Deming แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความแปรปรวนจากสาเหตุร่วม (Common Cause Variation) หมายถึง สาเหตุทั่ว ๆ ที่ทำให้เกิดความแปรปรวนในงาน เช่น ปัญหา การมีตำหนิ (ผลิตภัณฑ์) ความบกพร่อง อุบัติเหตุ ความผิดพลาด ของเสีย เหล่านี้เป็นต้น
2. ความแปรปรวนจากสาเหตุเฉพาะ (Special Cause Variation) หมายถึง เหตุการณ์พิเศษหรือเหตุการณ์เฉพาะที่ทำให้การทำงานแปรปรวน เช่น อากาศร้อนจัด อากาศหนาวจัด การเกิดแผ่นดินไหว ฝนตกหนัก เหล่านี้เป็นต้น
โดยทั่วไปสาเหตุร่วมจะทำให้เกิดความแปรปรวนในการทำงานได้บ่อย ๆ ในขณะที่สาเหตุเฉพาะจะมีไม่บ่อยครั้ง แต่จะทำให้มีความแปรปรวนในการทำงานได้รุนแรงกว่า สามารถหาความแปรปรวนของการทำงานได้จากการนำความแปรปรวนมาเขียนเป็นกราฟ ก็จะรู้ว่ามีความแปรปรวนมากน้อยเพียงไร และเมื่อไร หรือที่ไหน กล่าวได้ว่าสามารถหาเวลาและสถานที่ (Space & Time) ของความแปรปรวน หรือ เป็นการหาความเป็นรูปแบบ (Concrete) ของความแปรปรวนของการทำงาน

สมรรถนะที่ 3 เข้าใจวิธีการเรียนรู้ การพัฒนา และการปรับปรุง เพื่อการเรียนรู้และการปรับปรุงที่แท้จริง
ผู้นำ (Leader) มีหน้าที่ในการสอน หรือการนำผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) โดยเฉพาะผ่านการทำงานที่เรียกว่า “เรียนรู้ในขณะทำงาน” (on-the job learning) โดยผ่านวงจรการเรียนรู้ (learning cycle) ซึ่งนิยมเรียกว่า “the Shewhart Cycle” หรือ “the Deming wheel” หรือ “PDCA cycle”
PDCA Cycle เป็นวงจรการเรียนรู้และการปรับปรุงที่ไม่รู้จบ ประกอบด้วย P คือการวางแผน (Planning) ซึ่งจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม หรือปฏิบัติได้ กระทำ (Do) ซึ่งจะนำแผนไปปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตรวจสอบ (Check) ซึ่งตอนหลัง Deming เรียกว่า การศึกษา (Study) หมายถึงการติดตามประเมินผล หรือ Monitoring การปฏิบัติงานตามแผน ซึ่งจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะและนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาว่าได้มีการปฏิบัติงานไปตามแผนมากน้อยเพียงไร การปรับปรุงแก้ไข (Act) บูรณาการสิ่งที่ได้จากการศึกษาและติดตามประเมินผลเข้าด้วยกัน และนำมาใช้ในการแก้ไขปรับปรุงแผนและการปฏิบัติการต่อไปตามรูปที่ 1 คือ
รูปที่ 1 PDCA Cycle



สมรรถนะที่ 4 เข้าใจคนและเหตุผลของพฤติกรรม
กล่าวกันว่า “คนเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชา และเหตุผลของพฤติกรรมที่เขาแสดงออก มีหลายสิ่งที่ผู้นำต้องทำเพื่อให้เข้าใจลูกน้อง คือ
1.เข้าใจคน
เพื่อความเข้าใจคน McGregor มีฐานคติเกี่ยวกันคนเป็น 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎี x และทฤษฎี y
ทฤษฎี x มีฐานคติเกี่ยวกันคนเป็น 3 ประการคือ
1. คนโดยเฉลี่ยจะไม่ชอบทำงานและจะปฏิเสธงานถ้าทำได้
2. จากการที่คนไม่ชอบการทำงาน ทำให้ต้องมีการบังคับให้ทำงานและจะมีการทำโทษสำหรับคนที่ไม่ทำงาน
3. คนโดยเฉลี่ยจะชอบที่จะถูกบังคับ ชอบปฏิเสธความรับผิดชอบและมีความทะเยอทะยานน้อย
ทฤษฎี y มีฐานคติเกี่ยวกับคน 5 ประการ คือ
1 .คนชอบที่จะทำงานเช่นเดียวกับการเล่นหรือการพักผ่อน
2. คนชอบที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง และควบคุมตนเองมากกว่าที่จะใช้วิธีการทำโทษหรือให้ผู้อื่นควบคุม
3. คนชอบที่จะได้รับความสำเร็จด้วยตนเองและความสำเร็จจะเป็นตัวเสริมแรงให้คนทำงานด้วยความพยายาม
4. คนส่วนหนึ่งไม่เพียงแต่ชอบที่จะรับผิดชอบแต่แสวงหาความรับผิดชอบด้วย ส่วนการปฏิเสธความรับผิดชอบและการขาดความทะเยอทะยานเป็นผลมาจากประสบการณ์มากกว่า ไม่ใช่เป็นคุณลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
5. คนทั่วไปค่อนข้างจะมีจินตนาการ ฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์ค์ในการแก้ปัญหาขององค์กร
2. การจูงใจ
Alfei Kohn เปรียบเทียบการให้รางวัล (Rewards) และการทำโทษ (Punished) ว่าเป็นหัวผักกาด (Carrots) และไม้เรียว (Stick) และ Herzberg เรียกว่าการจูงใจว่า KITA (kock-in-the-pants) ซึ่งมี 2 อย่างคือ แรงจูงใจทางบวก (positive KITA) และแรงจูงใจทางลบ (negative KITA) การจูงใจจึงสามารถทำได้ 2 ประการคือ
1. การให้รางวัล ซึ่งคล้ายกับการให้หัวผักกาดแก่กระต่าย หรือให้ positive KITA
2. การลงโทษซึ่งคล้ายกับการตีด้วยไม้เรียว หรือให้ negative KITA
3. สัมพันธภาพ
ผู้นำจะต้องสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล รักษาสัมพันธภาพนี้ไว้ และ ชักจูงให้คนอื่นมีสัมพันธภาพซึ่งกันและกันด้วย สัมพันธภาพ (Relationship) ดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น รับฟังความเห็นของคนอื่น และคนอื่นรับฟังความเห็นของเรา แสดงความเคารพซึ่งกันและกันและแสดงความเคารพคนที่ควรเคารพ รู้จักคนอื่นให้ดีพอจนเป็นรู้เขารู้เรา
ธรรมชาติของสัมพันธภาพระหว่าง ผู้จัดการ-ผู้ใต้บังคับบัญชา (manager-employee relationship) มักจะเป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก อย่างไรก็ตาม Eric Berne ผู้ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลตามแนวทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของ Sigmund Freud พบว่า สัมพันธภาพดังกล่าวมี 3 สภาพ ซึ่ง Berne เรียกว่า “สภาพของตัวตน” (ego state) คือ
ความเป็นพ่อ-แม่ (Parent) หมายถึงการเป็นผู้ดูแลปกครองผู้อื่น เลี้ยงดู และควบคุม
ความเป็นผู้ใหญ่ (Adult) หมายถึง ความมีเหตุผลและมีอารมณ์
ความเป็นเด็ก (Child) หมายถึงความซุกซน มีความคิดสร้างสรรค์และชวนทะเลาะ
บุคลากรเรียกหาหรือเชิญให้มาเท่านั้น น้อยครั้งที่ผู้นำแบบตามสบายจะแสดงความคิดเห็นใด ๆ ออกมา ไม่ชอบตำหนิ ไม่ชอบชม การปฏิบัติงานใด ๆ ของผู้ใดทั้งสิ้นและจะไม่ขัดขวางหากมีใครเสนออะไรมา มักยอมอนุมัติเรื่อยไปโดยไม่ค่อยพิจารณาเหตุผลใด ๆ

แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการพัฒนาที่ 1 Continuing Education จะหมายถึงการเข้ารับการศึกษาตามสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่พบว่า สาเหตุที่ทำให้สมรรถนะในประเด็นนั้น ๆ บกพร่องเป็นเพราะขาดความรู้ บางประการและเป็นความรู้ที่จำเป็นจะต้องทำการศึกษา

แนวทางการพัฒนาที่ 2 Expert Briefing หมายถึง การพัฒนาสมรรถนะในประเด็นนั้น โดยไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรืออาจจะเรียกกันย่อ ๆ ว่า การถ่ายทอดสรุปโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เราจะใช้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในประเด็นนี้ในกรณีที่พบว่า สาเหตุของการบกพร่องนั้นมาจากการขาดความรู้เช่นเดียวกัน แต่ว่าจำเป็นที่จะต้องได้รับการเติมเต็มภายในระยะเวลาอันสั้น

แนวทางการพัฒนาที่ 3 Job Rotation หรือการหมุนเวียนงานเราจะใช้แนวทางการพัฒนานี้สำหรับกรณีที่สาเหตุของสมรรถนะที่บกพร่องมาจากการขาดทักษะ

แนวทางการพัฒนาที่ 4 On the job training หรือสอนงานในขณะที่ผู้สอนปฏิบัติจริงให้ผู้ถูกสอนดู เราจะใช้แนวทางการพัฒนานี้ ถ้าสาเหตุของความบกพร่องในเชิงสมรรถนะนั้นมาจากเรื่องทักษะ และเป็นทักษะที่จะเน้นการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ในกรณีเช่นนี้อาจจำเป็นที่จะต้องหาบุคลากรที่มีความสามารถในเรื่องนั้น สูงกว่าหรือมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์มากกว่าทำการสอนในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ ให้ผู้ที่ต้องการพัฒนาดู อย่างนี้เราจะใช้วิธีการ OJT หรือ On the job training

แนวทางการพัฒนาที่ 5 Project Assignment หรือการมอบหมายงานโครงการ เราจะใช้แนวทางการพัฒนานี้ในกรณีที่ค้นพบว่า สาเหตุที่สมรรถนะด้านนั้นยังบกพร่องอยู่ก็เพราะว่า ขาดทักษะเช่นเดียวกัน แต่การขาดทักษะดังกล่าวจะได้รับการเติมเต็มก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้ลองทำงานที่ได้รับมอบหมายแล้วเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติหรือที่เราเรียกว่า Learning By Doing

แนวทางการพัฒนาที่ 6 Self-Directed Study หมายถึงการให้ลองศึกษาด้วยตนเองเราจะใช้แนวทางพัฒนานี้ในกรณีที่ค้นพบว่า สาเหตุของสมรรถนะที่ยังบกพร่องอยู่นั้นเป็นเพราะขาดความรู้บางประการที่ภายในหน่วยงานและองค์กรมีแหล่งข้อมูลนั้นๆ อยู่

แนวทางการพัฒนาที่ 7 Team-based Activities หมายถึง การให้เข้าไปร่วมทำงานกับคณะทำงานเฉพาะกิจ เราจะใช้แนวทางการพัฒนานี้ในกรณีที่พบว่า สาเหตุของสมรรถนะที่ยังบกพร่องอยู่ มาจากการขาดความรู้ ทักษะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่จะต้องอาศัยความชำนาญจากมุมมองที่หลากหลาย จากบุคลากรที่ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะทำงานในการทำงานเฉพาะด้าน เฉพาะเรื่อง
แนวทางพัฒนาที่ 8 Workshop, Class or Seminar หมายถึง การฝึกอบรมนั่นเอง เราจะใช้แนวทางการพัฒนานี้ในกรณีที่ค้นพบว่า สาเหตุของปัญหาหรือประเด็นของการพัฒนานั้นมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ ความเข้าใจ และทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นที่จะต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกมาอธิบายเป็นหลักสูตรฝึกอบรม

สรุป การกำหนดแนวทางการพัฒนานั้นอาจจะเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรืออาจจะใช้หลาย ๆ วิธีรวมกันซึ่ง Project Assignment นั้น จะเป็นแนวทางพัฒนาสำคัญที่จะเพิ่มความรู้ ความสามารถของสมรรถนะในระดับที่เกี่ยวข้องโดยอิงสถานการณ์จริง มักจะคิดถึงการฝึกอบรมเป็นแนวทางสุดท้าย อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนา 8 ประการนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขสาเหตุอันเนื่องมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถ หรือที่เรียกว่าทักษะ การที่บุคลากรจะมีสมรรถนะในระดับที่เป็นมาตรฐานนั้นบางครั้ง สาเหตุของประเด็นการพัฒนาไม่ได้มาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถอย่างเดียว แต่บางครั้งมาจากการขาดความเชื่อมั่นและการขาดความมุ่งมั่น ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับแนวทางการพัฒนาทั้ง 8 ประการสำหรับผู้ประเมินหรือผู้บังคับบัญชาก็คือ การทำตนให้เป็นเยี่ยงอย่างและการสร้างบทพิสูจน์ให้บุคลากรนั้น ๆ ได้เห็นว่า ทำดีได้ดีและหากทำไม่ดีก็จะให้ผลในทางตรงกันข้าม โดยตั้งอยู่บนความยุติธรรมและความเป็นธรรมที่เสมอภาคกัน

ทักษะสำคัญของผู้นำ (การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ การนำเสนอ การเจรจา)

ทักษะการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making)

ปัญหา คือ ข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่าง ความคาดหวัง กับ ผลที่ปรากฏ นั่นคือปัญหาของคนทำงานจะเกิดจากการที่บุคคลตั้งระดับความคาดหวังในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรือพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง แต่ผลที่ได้รับหรือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับความหวังนั้นๆ
ชนิดของปัญหา ชนิดของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 2 ทาง
1. ปัญหาที่แท้จริง (Real Problem) คือปัญหาที่มีทางแก้ได้หลายทาง โดยที่เรามองเห็นว่าแนวทางแต่ละแนวทางนั้น สามารถไปสู่ผลสำเร็จ หรือตรงไปตามจุดมุ่งหมายทั้งแนวทางตรงหรือแนวทางอ้อม การแก้ปัญหาจึงเป็นไปตามสภาพการณ์ สถานการณ์ สภาพแวดล้อม ที่จำเป็นต้องแก้ไขทางตรงหรือทางอ้อม
2. ปัญหาที่ไม่แท้จริง (Unreal Problem) คือปัญหาที่มีทางแก้ได้ทางเดียว เป็นลักษณะการจนตรอก หรือการสอบตก
การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการของความพยายามที่ผู้นำหรือสมาชิกของทีมงานร่วมกันพิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบ เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จนทำให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปัญหาจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. จำแนกแยกแยะปัญหาหรือเป้าหมาย (Identify the Problem or Goal): ในขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดปัญหาขึ้นมาด้วยการตั้งคำถาม (Questioning) เพื่อค้นหาปัญหา จากนั้นจะทำการแบ่งแยกประเภท (Labeling) เพื่อทราบถึงความจำเป็นและความสำคัญของปัญหาแต่ละประเภท 2. กำหนดทางเลือกของการแก้ปัญหา (Generate Alternative Solutions): ในขั้นตอนนี้เป็นการระบุแนวทางที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถกระทำได้โดยจะเริ่มจากการระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อหาแนวทางต่าง ๆ จากนั้นจะทำการจัดหมวดหมู่ (Clustering) เพื่อง่ายในการเลือกแนวทางแก้ปัญหาในขั้นตอนต่อ ๆ ไป 3. จัดตั้งวัตถุประสงค์ของบรรทัดฐาน (Establish Objective Criteria): ในขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของบรรทัดฐานที่จะใช้ในการแก้ปัญหา โดยมีลักษณะของบรรทัดฐานสองลักษณะคือ บรรทัดฐานสำคัญในการแก้ปัญหา (Essential Criteria) และบรรทัดฐานที่ต้องการ (Desirable Criteria) 4. ตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบรรทัดฐานมากที่สุด (Decide on a Solution that Best Fits the Criteria): ในขั้นตอนนี้เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการการแก้ปัญหา โดยมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐานที่มี ซึ่งการเลือกแนวทางในการแก้ปัญหานั้นบางครั้งแนวทางที่ดีอาจจะไม่ได้รับเลือกเพราะไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 5. ดำเนินการการปัญหา (Proceed with the Solution): ขั้นตอนนี้จะดำเนินการหลังจากเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว โดยการดำเนินการแก้ปัญหาจะต้องมีการควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางที่ได้เลือกขึ้นมา 6. ประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluate the Solution): การดำเนินการขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตามการดำเนินที่เลือกขึ้นด้วยการประเมินผล โดยการประเมินผลนั้นจะช่วยให้ทราบถึงสัมฤทธิ์ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางแก้ปัญหาในครั้งต่อไป

รูป แสดงถึงกระบวนการแก้ปัญหา
การตัดสินใจ

การตัดสินใจ หมายถึง การเลือกที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาภายหลังเป็นการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของบุคคลต่างๆ

กลยุทธ์การตัดสินใจ ที่ใช้สำหรับเป็นหลักในการตัดสินใจโดยเลือกวิธีการตัดสินใจอย่างมีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพความเป็นจริงศักยภาพของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2. ผู้บริหารยอมรับว่าปัญหาที่ต้องตัดสินใจ เป็นปัญหาที่แท้จริงมิใช่ผลกระทบหรือผลข้างเคียงของปัญหา การระบุปัญหาให้ชัดเจน การระบุถึงสาเหตุของปัญหา
3. ผู้บริหารจะต้องแสวงหาทางเลือกหลายๆทางในการแก้ปัญหา การค้นหาปัญหาตามแนวทางต่างๆที่มีมากกว่าหนึ่งหรือสองแนวทาง
4. ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเลือกแนวทางที่น่าจะเหมาะสมที่สุดเป็นที่ยอมรับมากที่สุด มีความเป็นไปได้มากที่สุดอันจะนำไปสู่ความร่วมมือเป็นอย่างดี

แบบของการตัดสินใจแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน

1. การตัดสินใจอย่างมีแผน(programmed decision) เป็นการตัดสินใจที่ซ้ำๆเป็นเรื่องที่ทำเป็นประจำทุกวัน มีการกำหนดวัตถุประสงค์มาตรฐาน แนวปฏิบัติ กฎเกณฑ์และนโยบายต่างๆขึ้นมาเพื่อช่วยให้การตัดสินใจมากขึ้นมีแนวปฏิบัติเพื่อให้ผู้ที่ทำงานยึดถือเป็นหลักมีเกณฑ์กำหนดไว้เป็นกรอบการตัดสินใจ
2. การตัดสินใจอย่างไม่มีแบบแผน(non-programmed decision) เป็นการตัดสินใจในเรื่องพิเศษนอกเหนือจากเหตุการณ์ปกติ ผู้ตัดสินใจจะต้องใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา ใช้ความคิดริเริ่ม ใช้ดุลพินิจ และประสบการณ์อย่างมากในการตัดสินใจ

ขั้นตอนในการตัดสินใจ(Process in Decision-Making) มีกระบวนการดังนี้

1. สภาวะของปัญหาหรือเรื่องที่กำลังพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไข
2. ทำการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
3. สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้
4. ค้นหาวิธีการต่างๆที่จะแก้ไขปัญหาหรือค้นหาทางเลือกต่างๆ
5. ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

ข้อ 1-3 คือการวิเคราะห์ปัญหา ข้อ 4-5 คือภาวะตัดสินใจ

1. มีภาวะของปัญหาเกิดขึ้น ปัญหา คือความแตกต่างระหว่างสภาวะที่เกิดขึ้นจริงๆกับสภาวะที่เราตั้งเป้าหมายไว้หรือสิ่งที่ควรจะเป็น องค์ประกอบของปัญหา ประกอบด้วย 1.มีมาตรฐานหรือเป้าหมายที่แน่นอน 2. มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น 3. มีการหันเหออกจากวิถีทางที่ควรจะเป็น

2. ทำการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้ทราบสาเหตุ เป็นเรื่องของการพิจารณาถึงเป้าหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานหรือมีการหันเหออกจากวิถีทางที่ควรจะเป็นและการพิจารณาปัญหานั้นจะต้องสามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ การวิเคราะห์ปัญหามี 2 อย่างคือ การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่มีระเบียบแบบแผนและมีระเบียบแบบแผน
3. สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้โดย
3.1 การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน วิธีนี้อาจผิดพลาดได้ง่ายและหากพบปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยพบมาก่อนมักจะใช้เวลานานและอาจวิเคราะห์ปัญหาออกมาผิดพลาดได้
3.2 การวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน จะต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญและการคิดอย่างมีเหตุผล แต่ว่าดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างมีแบบแผน
4. คิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ เราจะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเสียก่อนโดยการวิเคราะห์ปัญหา ปัญหาไม่เหมือนกันเพราะแตกต่างกันในสภาพ ขนาด นโยบาย เป้าหมาย วิธีดำเนินงานของกิจการ สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ ตลอดจนสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

5. การตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด ถ้าจะให้ดีต้องมีระบบ ต้องสามารถเปรียบเทียบสิ่งที่จะเลือกนั้นออกมาเป็นตัวเลขให้ได้ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของที่วัดได้หรือวัดค่าไม่ได้ก็ตามตัวเลขที่ใช้เปรียบเทียบนั้นอาจเป็นรูปคะแนน น้ำหนัก หรือจำนวนเงิน จำนวนหน่วย ซึ่งมีการชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อนำมาพิจารณา

นอกจากนี้ผู้นำทีมยังสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ทีมงานมีส่วนร่วมเพียงใด โดยเรียงลำดับจากการมีส่วนร่วมน้อยไปหามากคือ (1) แบบเผด็จการ (Autocratic): การตัดสินใจลักษณะนี้ถูกกระทำโดยผู้นำทีมงาน และจะประกาศใฟ้ทีมงานได้รับรู้ โดยไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกทีมงานอภิปรายหรือเข้ามีส่วนร่วมใด ๆ ทั้งสิ้น (2) แบบพูดตอนจบ (Final Say): ผู้นำทีมงานเปิดโอกาสให้สมาชิกทีมอภิปรายเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา แต่อาจจะอนุญาตให้สมาชิกในทีมงานมีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมก็ได้ (3) แบบกลุ่มสมาชิกทีมยอดเยี่ยม (Elite Group): ผู้นำทีมงานจะเลือกสมชิกทีมเพียงบาง
คนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับผู้นำเท่านั้น โดยจะร่วมกันอภิปราย ทำการตัดสินใจและแจ้งให้สมาชิกทีมงานส่วนที่เหลือรับรู้ (4) แบบให้คำปรึกษา (Consultancy): ผู้นำทีมงานจะเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจและแล้วจะนำเสนอการตัดสินใจให้ทีมงานอภิปรายออกความเห็นกันอย่างกว้างขวางก่อนทำการตัดสินใจ รวมทั้งรับฟังความคิดที่ขัดแย้ง พร้อมทั้งข้อเสนอต่าง ๆ อีกด้วย แต่ในที่สุดการตัดสินใจยังคงทำโดยผู้นำทีมงานอยู่ดี (5) แบบกฎของคะแนนเสียงข้างมาก (Majority Rules): สมาชิกทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องต่อกระบวนการตัดสินใจโดยได้รับสิทธิในการตัดสินใจเท่าเทียมกัน หลังจากการอภิปรายการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงมากที่สุด (6) แบบความเป็นเอกฉันท์ (Consensus): การตัดสินใจประเภทนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าสมาชิกทั้งหมดไม่มีความคิดเห็นที่พ้องกันต่อการตัดสินใจนั้น ๆ




อุปสรรคในการตัดสินใจ เกิดขึ้นได้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น

1. การตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงตัวบทกฎหมาย ระเบียบ และประเพณีตลอดจนศีลธรรมอันดีงาม วัฒนธรรมการทำงานของคนในองค์การ
2. การตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงทรัพยากรทางการบริหาร
3. การตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงเวลาเร่งด่วน
4. การตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญาในครั้งก่อนๆ
5. การตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่มีอยู่

จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาและการตัดสินใจนั้นสามารถกระทำได้อย่างหลากหลาย ไม่ใช่มีแต่วิธีการที่เคยทำกันมาตั้งแต่ในอดีตวิธีเดียว การแก้ปัญหาและตัดสินใจที่ดีนั้นจะต้องมีรูปแบบและวิธีการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยความหลากหลายของรูปแบบในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ เพราะระดับของสถานการณ์และผู้ที่มีส่วนร่วมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ

ทักษะการนำเสนอ

จากการวิเคราะห์ของ HR (Human Resource) จากองค์กรของหลายๆ ประเทศลงความเห็นตรงกันว่าความรู้ในการสื่อข้อความของผู้นำองค์กรเป็นทักษะที่จำเป็นที่สุดในหลายทักษะที่ผู้นำองค์กรต้องมี เพราะการที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำองค์กรนั้น ผู้นำต้องมีทักษะในการมองวิสัยทัศน์ เรียกว่า Vertical หรือในแนวนอนคือ Horizontal ในเมื่อความรู้ของผู้นำมาถึงจุดอิ่มตัวที่สุดก็คือ ได้รับเลือกเป็นผู้นำ การจะเป็นผู้นำต้องเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง และผู้นำในทิศทางใหม่ที่ทำให้องค์กรหรือประเทศชาติดีขึ้น ที่นี้ผู้นำคนบอกทางจะนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่ ถ้านำเสนอได้ดีทุกคนก็จะพร้อมกันเดิน ทางไปยังจุดมุ่งหมายได้ แต่กลับกันถ้านำเสนอไม่ได้ดี ความเต็มใจและตั้งใจในการเดินทางไปยังจุดหมายอาจจะช้ากว่าที่ควรจะเป็น หลักการสื่อสารที่ดีแก่ทุกคนที่ต้องการการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีข้อคิดและการเสริมทักษะดังต่อไปนี้
1.มีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้ (Clear and Understand the subject) การนำเสนอหรือชี้แนะ ใครก็ตามแต่ ผู้นำเสนอจะต้องทำการค้นคว้าและเข้าใจในเนื้อหาอย่างดีที่สุด เพื่อความมั่นใจในการให้ความมั่นใจแก่ตัวเอง และแก่ผู้ฟัง ถ้าผู้นำจะชี้แนะทิศทางใหม่แก่พนักงานเพื่อนำระบบ KPI มาใช้เขาจะต้องเป็นผู้ที่รู้ในระดับการวัดผลที่ดีที่สุด สามารถเล่าเรื่องให้น่าฟัง จะนำทางความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.มีความเข้าใจในผู้ฟัง (Knowing your Audiences) ไม่ว่าท่านจะเก่งหรือไม่เก่งเลยในการโน้มน้าวคนฟัง ท่านจะต้องเข้าใจคนที่จะฟังท่านว่าเขาเป็นใคร เขามีความรู้ในเรื่องที่ท่านจะเสนอมากน้อยเพียงไร เพราะถ้าเรารู้คนฟัง เราก็สามารถปรับแต่งข้อมูลในการนำเสนอให้ลงลึก หรือลงเป็นข้อมูลโดยสังเขปแก่ผู้ฟัง ทำให้การนำเสนอข้อมูลน่าสนใจ แก่ผู้ฟังมากขึ้น และสามารถโน้มน้าวได้อย่างดี
3.รู้จักทักษะที่ดีในการนำเสนอ (Great Presentation Skill) ทักษะที่ดีในการนำเสนอ ในองค์กรมืออาชีพ จะเป็นทักษะสูงสุด เพราะต้องใช้ทุกวันในการทำงาน ไม่ว่าจะเจรจาต่อรองกับลูกค้า, ประชุมกับลูกน้อง, เข้าพบนายใหญ่, รายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารบริษัท รวมทั้งให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนในการให้ข่าวสารแก่ประชาชนให้รับรู้ เป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ และสามารถเป็นผู้นำเสนอที่ดีได้ในที่สุด สิ่งที่เราเข้าใจผิดกันมาโดยตลอดว่า เห็นคนนำเสนอเก่งๆ เขาคงเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการพูดมาแต่กำเนิด ที่จริงคนเก่งในการนำเสนอร้อยละ 70% เขาเก่งขึ้นมาได้เพราะฝึกฝนมาทั้งนั้น
เรย์ แอนโทนี เขียนเรื่อง Make Your Toptalk Shine กล่าวว่า การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำเสนอ ถ้าเราจะต้องนำเสนอผู้บริหาร ก็ต้องดูว่าเรื่องอะไร ผู้บริหารระดับไหน จะพูดอย่างไรจึงจะจูงใจได้ เนื่องจากการนำเสนอจะต้องมีการพูดจาเป็นหลักเป็นฐาน รวมทั้งมีสีหน้า ท่าทาง และอุปกรณ์นำเสนอที่จูงใจ ดังนั้นเทคนิคการนำเสนอจึงควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ง่าย ชัดเจน และมีการจัดระเบียบอย่างดี (Simple, clear and or ganized) ควรนำเสนอแต่ละครั้งอย่างน่าสนใจ อย่าเริ่มต้นด้วยตัวเลขหรือสถิติในแต่ละปัญหามากเกินไป และไม่ควรนำเสนอปัญหามากมายตั้งแต่เริ่มต้น ผู้บริหารอาจสับสนก็ได้
2. ตรงเป้า (concise to the point) ผู้บริหารต้องการให้พูดตรงจุด หรือว่ามีปัญหาสำคัญอะไร (highlights) และประเด็นที่แท้จริงอยู่ตรงไหน
3. ต้องน่าสนใจ (interesting) นักบริหารหวังว่า ผู้นำเสนอจะต้องพูดจับใจเขา ให้ติดตามเรื่องที่อยากนำเสนอ ไม่ควรพูดเสียงเท่ากัน หรือมีเนื้อหาจนอึดอัด
4. สอดคล้อง (relevant) ผู้บริหารต้องการให้นำเสนอสิ่งที่มีสาระตรงตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ใช้เวลามาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องการให้รับรู้
5. เป็นมิตรและสบายๆ (friendly and relaxed) การนำเสนอจะต้องเป็นมิตร ไม่เครียด ดูเป็นธรรมชาติ รวมทั้งต้องแต่งกายเรียบร้อย ดูดี แต่ไม่ควรแต่งกายล้ำยุคเกินไป เพราะมานำเสนองานไม่ใช่มาเดินแฟชั่น
6. การโต้ตอบ (interactive) การนำเสนอที่ดีต้องให้ผู้ฟังได้โต้ตอบ และต้องเตรียมพร้อม
สำหรับการคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย การพูดจานุ่มนวลมีมนุษยสัมพันธ์
7. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ(effective and efficient ) ประสิทธิผลหมายถึงการนำเสนอนั้นต้องครอบคลุมทุกประเด็นการนำเสนอ โดยมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อที่ผู้ฟังจะได้ฟังแล้วสามารถตัดสินใจได้เกี่ยวกับแผนการที่เสนอ ประสิทธิภาพ หมายถึง ผู้นำเสนอมีวิธีการนำเสนอ ที่ตรงตามเป้าหมายและใช้เวลาไม่มาก เป็นการจับใจผู้ฟังให้คล้อยตามอย่างรวดเร็วและเข้าใจง่าย เพื่อจะได้ข้อยุติ
8. ต้องมีกลยุทธ์ พูดให้ตรงเป้าหมาย (strategically focused) ผู้นำเสนอที่ดีต้องสามารถจับประเด็นได้ว่า ปัญหาที่นำเสนออยู่ตรงไหน และผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร จะมีผลสืบเนื่องต่อไปอย่างไร
9. น่าเชื่อถือ (persuasive) ต้องเตรียมตัวพร้อมพร้อมที่จะตอบข้อโต้แย้ง ข้อซักถามได้ทุกข้ออย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยไม่แสดงอาการลังเลหรือไม่แน่ใจในสิ่งที่ตนเองนำเสนอ ด้วยท่าทางที่น่าประทับใจ มีวาจาเป็นมิตร
10. จูงใจ มีพลัง และสนุก ( motivating, energizing and entertaining)ผู้นำ เสนอสามารถจูงใจผู้บริหารด้วยลีลาที่มีชีวิตชีวา สนุกสนานไม่น่าเบื่อ แต่ไม่ใช่ตลกจนเกินกว่าเหตุ

สรุป การนำเสนอที่ดีต้องเตรียมพร้อมทุกด้านให้น่าสนใจ ชวนติดตาม และติดตามได้ ไม่ว่าด้านบวกหรือลบ เป็นการนำเสนอแบบไม่เคร่งเครียดจนเกินไปด้วยการมีอารมณ์ขันบ้าง แต่ไม่มากนัก ขณะเดียวกันต้องมีเกร็ดความรู้ให้เห็นว่าถ้าทำตามที่เสนอจะได้อะไร ไม่ทำตามจะทำให้องค์กรเสียหายตรงไหนการนำเสนอที่ดีนั้นจะช่วยให้ชนะใจผู้ฟัง เพราะเท่ากับเราเริ่มต้นดีเปรียบเทียบเหมือนการวิ่งแข่งที่สตาร์ทได้ถูกจังหวะก็จะวิ่งนำหน้าคนอื่นได้
ทักษะการเจรจา
หลักการเจรจาต่อรอง 9 ประการ ซึ่งจะช่วยให้เจรจาต่อรองได้ประสบผลสำเร็จ
1) ระลึกว่าเป้าหมายของคุณคือ ชนะ-ชนะ- ชนะ ผู้นำที่ใช้วิธีต่อรองจะไม่ประสบผลสำเร็จหากเขาทำให้เกิดผู้แพ้และผู้ชนะ อยู่เรื่อยๆ ผู้นำที่ทำให้คนสูญเสียในขณะที่จะนำจะทำให้มีคนไม่เชื่อถือและโกรธแค้นเขา เมื่อผู้นำมีเชื่อเสียงในฐานะที่ทำให้ทุกคนชนะผู้คนก็จะอยากตาม และถ้าเขาต้องเลือกว่าใครจะชนะ เป็นคนแรก เขาก็จะเลือกความสำคัญดังนี้ ลำดับแรกคือ องค์กร ต่อมาคือผู้ตาม และสุดท้ายคือตัวเอง
2) เริ่มเจรจาต่อรองด้วยความคาดหวังสูง ทัศนคติของคุณในตอนเริ่มภารกิจจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลที่ได้มากกว่าสิ่ง อื่นใดนั้น ถ้าคุณเชื่อว่าคุณสามารถทำให้เกิดชนะ-ชนะ-ชนะ ได้ คุณก็ทำได้ ถ้าคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำไม่ได้
3) คิดไว้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเป็นเหตุให้คุณเลิกเจรจา ไม่มีการต่อรองใดที่จะต้องทำต่อไป “จนหมดตัว” เมื่อไรก็ตามที่คุณเชื่อว่าคุณหยุดการเจรจานั้นไม่ได้ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะแพ้-ชนะ จะเพิ่มสูงมาก การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเช่นนั้น คุณจะต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่า อะไรที่ทำให้คุณต้องหยดเจรจา รายการต่อไปนี้จะช่วยให้คุณคิดได้
ก.ทัศนคติที่ไม่ดี ข. ความไม่ไว้วางใจกัน ค. ภาพของการแพ้-ชนะ ง. ทุกคนให้โดยไม่มีใครได้ จ. การข่มขู่ ฉ. มีลับลมคมใน ช. การโจมตีบุคคล หรือการตำหนิติเตียน ซ. ใจปิด
4) แยกบุคคลออกจากเรื่องที่เจรจา การเจรจาต่อรองที่เพ่งเล็งไปที่ตัวบุคคลมากกว่าเนื้อหาของเรื่องจะสิ้นสุด ลงด้วยความล้มเหลว หรือเกิดมีผู้แพ้ผู้ชนะขึ้น เพราะฉะนั้นอย่านำตัวบุคคลเข้ามาเป็นเป้าในการต่อรอง
5) ค้นหาความต้องการของผู้อื่น เนื่องจากเป้าหมายของเราคือการสร้างสถานการณ์ให้ทุกคนชนะ จึงเป็นการดีที่สุดที่จะรู้ว่าแต่ละคนต้องการอะไร ก่อนลงมือต่อรองใช้เวลาค้นหาความต้องการของคนอื่นเสียหน่อยจะทำให้ภารกิจ ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน และการเจรจาจะเร็วขึ้นด้วย เมื่อเริ่มเจรจาต่อรองควรจะให้ทุกคนยกประเด็นทั้งหมดขึ้นมาพูดกัน เพราะการต่อรองจะไม่ราบรื่นหากประเด็นต่างๆถูกเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ ในขณะที่คุณกำลังพยายามจะทำให้ทุกคนชนะ
6) หาทางออกไว้หลายๆทางก่อนตัดสินใจ การนำแบบต่อรองมีจุดแข็งที่สุดอยู่ตรงที่ทำให้มีทางอออกได้หลายทาง เมื่อไรก็ตามที่คุณต่อรองในประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วไม่หาทางออกเผื่อเอา ไว้ การต่อรองนั้นเสี่ยงที่จะล้มเหลวหรือไม่ก็เกิดมีคนพ่ายแพ้ขึ้น แต่ถ้ามองหาทางออกเอาไว้ก่อนหลายๆทางจะทำให้มีความยืดหยุ่นได้ และมีโอกาสที่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ
7)อย่าหาทางปรองดองทีละข้อ การเจรจาต่อรองบางครั้งแทนที่จะพยายามให้เกิดความเป็นธรรมกลับมีการยอมความ กันเป็นกรณีๆไป หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือเชื่อว่า การประนีประนอมในประเด็นหนึ่งคงจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมในอีกประเด็นหนึ่ง หากประเด็นปัญหาต่างๆที่เจรจานั้นมีน้ำหนักเท่ากันอาจจะทำเช่นนั้นได้ แต่ปัญหาคือมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป การยอมในประเด็นหนึ่งของเราอาจจะต้องแลกกับอีกแปดอย่างของคนอื่นก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรที่จะหยิบยกประเด็นมาพูดกันทีละประเด็น ทางที่ดีที่สุดควรจะพยายามทำให้ทุกคนชนะโดยการยอมรับในสิ่งที่เขาจะได้และ สิ่งที่เขาต้องยอมให้
8) พิจารณาข้อเสนอที่รับไม่ได้อย่างรอบคอบ อย่าปฏิเสธข้อเสนอที่ฟังดูไม่เข้าท่าในระหว่างการเจรจาต่อรอง เพราะบางทีเราอาจจะเห็นโอกาสดีๆ จากสิ่งที่ดูครั้งแรกว่าเลวร้ายก็ได้ ข้อเสนอที่เรารับไม่ได้มักจะเป็น ก. สิ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน ข. สิ่งที่ผิดจากโครงสร้างปกติ ค. สิ่งที่ต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ ง. สิ่งที่ดูดีเกินไปไม่น่าจะเป็นไปได้ จ. สิ่งที่ทำให้เกิดข้อกังขา
มองหาคุณประโยชน์ในข้อเสนอแต่ละอย่าง คุณอาจจะพบคุณประโยชน์ซ่อนอยู่เหนือกว่าโทษที่คุณมองเห็นตั้งแต่แรกก็ได้
9)พิจารณาข้อต่อรองโดยมีกำหนดเวลาและทางออกที่เป็นรูปธรรม การเจรจาต่อรองจะสำเร็จลงไม่ได้ หากคุณไม่กำหนดไว้ก่อนว่าความสำเร็จคืออะไร คุณต้องกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ล่วงหน้าว่า คุณพอใจที่จะ “ชนะ”ตรงไหน และเมื่อไรภาวะผู้นำแบบต่อรองจะมีประสิทธิภาพสูงมากเมื่อใช้กับคนที่มีความคิดสร้าง สรรค์และรู้จักการผ่อนหนักผ่อนเบา จะได้ผลดีเป็นพิเศษสำหรับคนที่อุทิศตัวเองเพื่อความสำเร็จขององค์กร
สรุป ผู้นำเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดขององค์กร หน่วยงานทุกแห่ง ผู้นำเป็นผู้นำทางไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร และยังเป็นผู้นำองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้า การเรียนรู้ผู้นำ แต่ละชนิดจะทำให้เกิดความเข้าใจในความหมายของการเป็นผู้นำ เข้าใจบทบาทของผู้นำและขอบเขตความรับผิดชอบของผู้นำจะช่วยให้เข้าใจความเป็นผู้นำและภาวะผู้นำอย่างแท้จริง


เอกสารอ้างอิง
กิติ ตยัคคานนท์. เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: บริษัทเชษฐ สตูดิโอฯ จำกัด; 2530.
กวี วงศ์พุฒ. ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี; 2539.
จรัณ ภาสุระ. ศิลปะการแก้ปัญหา” คน”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธัญญา พับลิเคชั่น; 2534.
ทองหล่อ เดชไทย. ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ.มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทเซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส; 2537.
พรนพ พุกกะพันธ์. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักส์; 2544.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ:บริษัทอริยชน ; 2537.
สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. ภาวะความเป็นผู้นำ. เอกสารประกอบการเรียนการสอนภาวะการเป็นผู้นำ (414340) ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
สุพัตรา สุภาพ. คิดอย่างผู้นำและผู้ตาม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น); 2547.
สร้อยตระกุล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.

การวางแผนและการเขียนโครงการ

การวางแผนและการเขียนโครงการ

ความหมายของการวางแผน
การวางแผน คือ การมองอนาคตการเล็งเห็นจุดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดีที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมินผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อนาคต การตัดสินใจ การปฏิบัติ
ความสำคัญของการวางแผน
ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามองในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิดก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษาหรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร
การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทางที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา
2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้
3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด
4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ

ประเภทของแผน
เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผนแต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ
1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไป อย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี
2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเน ว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อย เพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผน พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร เป็นต้น
3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา ได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้ ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัด ทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบ ประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน
4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้ ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอด เงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบ ประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้องปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติ การประจำปีขึ้น

ความหมายของโครงการ
พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่งช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต โครงการโดยทั่วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการพัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น
องค์ประกอบของโครงการ
องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้
2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการบางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น
4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้นวัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้เพียง 1-3 ข้อ
5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ
6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์
8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ
9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้
10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการนั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียมโครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป
12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

ลักษณะโครงการที่ดี โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาหรือเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาได้2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้
ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้อง
สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ
เป็นต้น4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้ - สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ - ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ - แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม โครงการได้6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้

แบบฝึกหัดเขียนโครงการ
ชื่อแผนงาน..............................................................
ชื่อโครงการ.............................................................
หลักการและเหตุผล
.................................................................................................................................
..................................................................................................................................
วัตถุประสงค์
...................................................................................................................................
...................................................................................................................................
เป้าหมาย
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
วิธีดำเนินการ
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ
.......................................................................................................................................
งบประมาณ
........................................................................................................................................
.........................................................................................................................................
ผู้รับผิดชอบโครงการ
...........................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
............................................................................................................................................
.............................................................................................................................................
การประเมินผล
..............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
...............................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

กิจกรรมนักศึกษา

กิจกรรมนักศึกษา

กิจกรรมนักศึกษา (Student Activities) เป็นส่วนหนึ่งของงานกิจการนักศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักศึกษาให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพและการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
H. Stroup (Stroup 1964 (52-53) ได้กล่าวไว้ว่า สถาบันการศึกษาจัดให้มีงานกิจกรรมนักศึกษาขึ้น เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานของสถาบันในการผลิตบัณฑิตแต่ละคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์
กิจกรรมนักศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับการเรียนการสอนที่มีอยู่ในหลักสูตรและจากปรัชญาการศึกษา ตามแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่ว่า การศึกษา คือ การรวบรวมประสบการณ์อันเป็นผลพวงมาจากการที่นักศึกษา มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
ดังนั้น กิจกรรมนักศึกษาทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในหลักสูตร (Class Activities) กิจกรรมเสริมหลักสูตร(Extra-Curriculum Activities) หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Extra-Class Activities) จึงถือเป็นการให้การศึกษาแก่นักศึกษา และช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ทักษะในการทำงาน และการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีและมีความสุข.
กิจกรรมนักศึกษา (Student Activities) หมายถึง กิจกรรมของนักศึกษาที่ดำเนินการโดยนิสิต/นักศึกษา หรือสถาบันการศึกษาเป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนุกสนาน เพิ่มพูนความรู้ เปิดโอกาสแก่นิสิตนักศึกษา ให้เข้าร่วมตามความสนใจ ตามความสามารถ ไม่มีการให้หน่วยกิต และต้องสรรหาทรัพยากรหรือจัดหางบประมาณ โดยดำเนินการ อยู่ภายใต้การควบคุม ของ

วัตถุประสงค์งานกิจกรรมนักศึกษา
วัตถุประสงค์โดยทั่งไปของกิจกรรมนักศึกษา มีดังนี้
1. เพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่นักศึกษา
2. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีในหมู่นักศึกษา
3. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้เพิ่มประสบการณ์ในด้านต่างๆ แก่นักศึกษา
4. เพื่อปลูกฝังและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์อันดีงานของชาติ
5. เพื่อส่งเสริมพลานามัยและพัฒนาบุคลิกภาพ
6. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
7. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย


จากจุดประสงค์ทั้ง 7 ข้อ สามารถที่จะนำนักศึกษาไปสู่เป้าหมายที่สำคัญคือ
1. นักศึกษาเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
2. นักศึกษาร่วมกันทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
3. นักศึกษามีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับมติของกลุ่ม
4. นักศึกษามีบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาในตัวคนที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
5. นักศึกษามีทักษะในการทำกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบหรือมีความถนัด
6. นักศึกษามีการพัฒนาทัศนคติที่ดีเหมาะสม อันจะเป็นผลต่อพฤติกรรมที่พึงปรารถนา

จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของงานกิจกรรมนักศึกษา จะก่อให้เกิดประโยชน์กว้างๆ ในสองลักษณะคือ
1. พัฒนาวุฒิภาวะและบุคลิกภาพนักศึกษา
2. เสริมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบในตัวนักศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมบุคคลให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพในอนาคตต่อไป

ประเภทของกิจกรรมนักศึกษา
เนื่องจากนักศึกษาแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันไปทั้งในด้านภูมิหลัง ความสนใจ และความสามารถ ดังนั้นกิจกรรมนักศึกษาจึงต้องมีความหลากหลายให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาแต่ละคน

1. กิจกรรมส่วนกลาง
กิจกรรมส่วนกลาง หมายถึง กิจกรรมของนักศึกษาที่ทำหน้าที่เป็นตัวทานของนักศึกษาทั้งหมดของสถาบัน ตลอดจนให้การสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาทุกองค์กรในสถาบัน ซึ่งจัดตั้งอยู่ในรูปของสโมสรนักศึกษาหรือองค์การนักศึกษา
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมส่วนกลาง

1.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการทำงาน ในระบอบประชาธิปไตย
1.2 เพื่อเป็นกลไกของสถาบันอุดมศึกษาในการให้การสนับสนุนและควบคุมการดำเนินกิจกรรมนักศึกษาของสถาบัน
1.3 เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษาทางด้านสังคมและการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
1.4 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยสอนให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อองค์การหรือสมาคมที่ตนเองเป็นสมาชิก
1.5 เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่นักศึกษา
ปัญหาเกี่ยวกับกิจกรรมส่วนกลาง
1. นักศึกษามีความสนใจกิจกรรมส่วนกลางน้อย หรือบางครั้งสมาชิกสภานักศึกษาที่ได้เป็นผู้ที่ขาดลักษณะผู้นำมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนนักศึกษา
2. ขาดแคลนนักศึกษาที่มีประสบการณ์มาทำงานทั้งในองค์กรนักศึกษาในสภานักศึกษา
3. ขาดความร่วมมือสโมสรระดับคณะ
4. นักศึกษาไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนักศึกษาบางข้อ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเงินที่ไม่ถูกต้องและครุภัณฑ์สูญหาย
5. ขาดแคลนอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมส่วนกลาง

2. กิจกรรมกีฬา
การจัดกิจกรรมด้านกีฬามีวัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ และทักษะในการเล่นกีฬา
2.2 เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อเสริมสุขภาพและพลานามัย
2.3 เพื่อปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
2.4 เพื่อสร้างความสามัคคี รู้จักทำงานร่วมกัน
2.5 เพื่อช่วยพัฒนานักศึกษาในด้านอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ โดยใช้กิจกรรมกีฬาเป็นเครื่องมือ
2.6 เพื่อช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสถาบัน
ลักษณะของกิจกรรมกีฬา
การดำเนินงานกิจกรรมกีฬามีหลายลักษณะ ดังนี้
1. การแข่งขันกีฬาเพื่อสุขภาพ พลานามัยและพัฒนาบุคลิกภาพ พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตร
2. การแข่งขันกีฬาเพื่อการแข่งขัน ได้แก่ การแข่งขันกีฬาระหว่างคณะ การแข่งขันกีฬาระหว่างสถาบัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬา และเป็นการเพิ่มทักษะในด้านการกีฬา
3. กีฬาเพื่อความเป็นเลิศระดับชาติและนานาชาติ เช่น การจัดกีฬาแข่งขันระหว่างภูมิภาค ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นให้ได้นักกีฬาที่มีความสามารถสูงและมีความเป็นเลิศด้านกีฬานั้น ๆ เป็นการยกมาตรฐานกีฬาให้สูงขึ้น

3. กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม
3.1 เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่แลกเปลี่ยนและพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมรดกอันล้ำค่าและเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ
3.2 เพื่อปลูกฝังค่านิยมความภาคภูมิใจและความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
ลักษณะของกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม
กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมมีกิจกรรมหลายอย่าง แตกต่างกันไปในการจัดการกิจกรรม ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและท้องถิ่น การจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ของชาติ เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันเข้าพรรษา ฯลฯ ตลอดจนการจัดแสดงนิทรรศการ หรือกิจกรรมทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การละเล่นพื้นเมือง

4. กิจกรรมการเมือง
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเมือง
4.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นระบบ
4.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
4.3 เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องของการเลือกตั้ง ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ
ลักษณะกิจกรรมการเมือง
1. การเมืองภายในสถาบัน มุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจในระบบการปกครองของสถาบัน และเข้าใจในองค์กรของนักศึกษา ตลอดจนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาให้ถูกต้อง
2. การเมืองระดับประเทศ มุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เข้าใจในระบบการปกครองของประเทศ
3. การเมืองระดับโลก มุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจทิศทางของการเมืองระดับโลกให้รู้เท่าทันเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกี่ยวกับโลกภายนอกต่อไป

5. กิจกรรมวิชาการ
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมวิชาการ มีดังนี้
5.1 เพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาให้กับนักศึกษามากขึ้น
5.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
5.3 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบัน เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่ดี
ลักษณะกิจกรรมวิชาการ
ลักษณะของกิจกรรมวิชาการ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ การติวด้านวิชาการ การเข้าค่ายภาษาต่างประเทศ การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ การจัดค่ายคอมพิวเตอร์ การจัดค่ายศิลปะ การจัดค่ายดนตรี เป็นต้น

6. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาพัฒนา
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาพัฒนา
6.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในเรื่องของการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อาสาพัฒนาชนบท อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่น
6.2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความสามัคคี มีความรับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวมในระหว่างนิสิตร่วมสถาบันและต่างสถาบัน
6.3 เพื่อฝึกให้นักศึกษา เป็นผู้นำที่มีความสามารถและเป็นผู้ตามที่ดี โดยรู้จักการทำงานด้วยกันเป็นหมู่คณะ รู้จักผ่อนปรนและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลด้วยความรอบคอบ และอดทน
6.4 เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ลักษณะของกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาพัฒนา
เป็นงานที่เน้นเรื่องของอาสาพัฒนาทั้งภายในสถาบัน ชุมชนรอบสถาบันและชนบท การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกวิธี การจัดส่งเสริมความรู้สร้างภูมิคุ้มกันโรคเอดส์ สิ่งเสพติด ลักษณะของงานกิจกรรมด้านการศึกษา สาธารณูปการ คมนาคม การเกษตร การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข

7. กิจกรรมทางวิชาชีพ (เฉพาะสาขา)
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมทางวิชาชีพ
7.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้นักศึกษาและสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้
7.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสามารถเสริมรายได้เพื่อนำมาใช้จ่าย
ลักษณะของกิจกรรมทางวิชาชีพ
เป็นกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น และนำไปใช้ได้หลังจากได้เรียนรู้หรือเข้าร่วมโครงการ อาจจะเสริมความรู้ในสายวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ให้เพิ่มพูนมากขึ้น เห็นชัดเจนมากขึ้น เช่น การจัดสาธิตทำอาหาร การอบรมผลิตของชำร่วย การอบรมแต่งหน้าเค้ก การอบรมทำขนมต่าง ๆ การจัดอบรมการเขียนบทความ การวิจารณ์ การฝึกอบรม การเขียนเรื่องสั้น การฝึกอบรมขับร้อง ฯลฯ